Wednesday, September 7, 2011

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ คืออะไร

0 comments
 
หากมึคำถามว่า อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ คืออะไร  มันร้ายแรงมากไหม เรามาดูคำตอบกันว่า อาชญากรรมนี้ เป็นอีกสิ่งที่น่ากลัว และจะมีผลต่อสภาพเศรษฐกิจเลยทีเดียว

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ คือ การใช้คอมพิวเตอร์ เพื่ออำนวยความสะดวก หรือ นำไปสู่การกระทำผิดทางอาญา
ประเภทของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ มีอยู่หลากหลายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นช่องทาง ในการก่ออาชญากรรมหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการล่อลวง การฉ้อโกง การโจรกรรมข้อมูลต่างๆ เช่น
o เควิน มิตนิค เป็นแฮคเกอร์ (Hacker) ที่มีชื่อเสียงที่สุดที่เอฟบีไอตามล่าตัวอยู่นานหลายปี เขาเป็นผู้ลักลอบนำบัตรเครดิตผู้อื่นไปใช้ ขณะที่ต้องหนีตำรวจไปด้วยกว่า 2 ปีครึ่ง  
o เด็กหนุ่มอายุ 16 ปี แอบเจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของนาซ่าเพื่อดาวน์โหลดซอฟต์แวร์มูลค่าเกือบสองล้านเหรียญออกมาใช้ แฮกเกอร์เจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของธนาคารเพื่อเปลี่ยนตัวเลขในบัญชีเงินฝากของตนให้มากขึ้น
o เซียนคอมพิวเตอร์อีกคนส่งไวรัสเข้าก่อกวนระบบเครือข่าย
o นักแช็ตจอมลวงหาเบอร์โทรศัพท์หญิงสาวจากเว็บไซต์ก่อนนัดแนะออกมาล่วงละเมิดทางเพศ
o มีการเสนอขายโทรศัพท์มือถือราคาถูกบนเว็บบอร์ดโดยหลอกให้โอนเงินมัดจำไปให้ก่อน
o มีเว็บไซต์ปลอมที่กลุ่มมิจฉาชีพมาทำไว้เพื่อลวงเอาหมายเลขบัตรเครดิต
o ช่วงเหตุการณ์ตึกเวิร์ลเทรดโดนถล่ม ก็มีอีเมล์แอบอ้างว่ามาจากสภากาชาดขอรับบริจาคเงินช่วยเหลือครอบครัวผู้เคราะห์ร้าย
o เว็บไซต์ www.yahoo.com เคยถูกกลุ่มแฮกเกอร์รุมยิงโปรแกรมถล่มจากคอมพิวเตอร์หลายพันเครื่องทั่วโลก ทำให้เครื่องต้องหยุดให้บริการไปหลายวัน


o เว็บไซต์สนุกดอตคอม (www.sanook.com) เมื่อครั้งก่อนที่บริษัท Mweb จะเข้าซื้อกิจการ เคยโดนคนแอบอ้างเป็นเจ้าของแล้วแก้ไขหมายเลขเครื่องเป็นหมายเลขปลอม ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถเข้าเว็บไซต์จริงได้
o นักเจาะระบบอายุ 34 ปี ผู้ถูกจัดอันดับเป็นแฮ็กเกอร์มือ 1 ของเมืองไทย และติดอันดับ 3 ของโลกได้เจาะเข้าระบบของบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ เพื่อเปลี่ยนมูลค่าบัตรเติมเงินจาก 100 บาท เป็น 1,000 บาท แล้วขายเอาเงินเข้ากระเป๋า

ตัวอย่างดังที่กล่าวมาในข้างต้นแสดงให้เห็นว่าวายร้ายยุคไฮเทค ใช้เทคนิควิธีที่เหนือชั้นในการล้วงเอาข้อมูล ล้วงเอาเงินจากกระเป๋า ขโมยตัวตนของเรา หรือแม้แต่เข้าถึงตัวเรา
ดังนั้นในฐานะผู้ปกครอง ในฐานะครู จึงควรแนะนำ หรือสอนเด็กๆ ให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วยความรอบคอบระมัดระวัง ไม่ไว้ใจคนแปลกหน้า ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลที่จะทำให้คนอื่นสามารถปลอมแปลงเป็นตัวเรา หรือเข้าถึงตัวเราได้ ต้องรู้จักเลือกอ่านอีเมล์และเว็บไซต์ ไม่หลงเชื่อข้อมูลง่ายๆ โดยเฉพาะข้อเสนอที่ดีเกินจริง เช่น การทำงานที่บ้านให้ค่าตอบแทนสูง การซื้อสินค้าดีราคาถูก หรืออีเมล์แจ้งว่าเราเป็นผู้โชคดีได้รับรางวัล แต่ต้องโอนเงินค่าดำเนินการไปก่อน การกรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น หมายเลขบัตรเครดิต ประกันสังคม หมายเลขบัตรประชาชนทางเว็บไซต์ ต่างๆ นั้นก็ต้องมั่นใจว่าเป็นเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ และควรโทรศัพท์ไปสอบถามข้อมูลเสียก่อน

กรณีได้รับแจ้งทางอีเมล์ว่าบัตรเครดิตของเรามีปัญหา แล้วถูกขอให้ไปกรอกข้อมูลส่วนตัวบนเว็บไซต์เพื่อสมัครใหม่ เนื่องจากบ่อยครั้งที่พบว่าเป็นเว็บไซต์ปลอม ที่มิจฉาชีพมาทำไว้เพื่อลวงเอาข้อมูลบัตรของเราไปใช้ จงจำไว้ว่าสถาบันการเงิน หรือบริษัทผู้ให้บริการจะไม่ติดต่อขอข้อมูลสำคัญๆ ทางอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ อย่าลืมติดตั้งโปรแกรมป้องกันภัยออนไลน์ และตรวจตราเครื่องของเราว่า มีข้อมูลแปลกปลอมหรือไวรัสปะปนอยู่หรือไม่ เนื่องจากโปรแกรมบางตัวถูกส่งมาเพื่อขโมยข้อมูล ไวรัสบางตัวก็แพร่กระจายตัวเองติดต่อไปยังเครื่องอื่นๆ ได้เหมือนโรคระบาด สร้างความเสียหายได้คราวละมากๆ ทั่วระบบ
Readmore...

สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ

ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
mediathailand
สุวัฒน์ ธรรมสุนทร
ข้าราชการบำนาญ สำนักงาน กศน.




ข้อเสนอแนะจากเพื่อนสมาชิก Facebook