Wednesday, June 13, 2012

Scareware ภัยร้ายออนไลน์และ Facebook

0 comments
 
ปัจจุบัน Facebook ถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญของผู้คนอินเทรนในแวดวงไอที ที่ส่วนใหญ่ต่างเป็นสมาชิกในสังคมออนไลน์แห่งนี้กัน แต่เชื่อหรือไม่ว่า สังคมแห่งนี้ก็เกิดมีผู้ไม่หวังดี ประสงค์ร้ายจริงๆ ใช้ช่องทางใน Facebook นี้แพร่กระจายภัยคุกคามให้กับผู้ใช้บนอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า Scareware

เรามาทำความรู้จัก Scareware กันก่อน
เจ้า Scareware จะเป็นภัยร้ายในคราบนักบุญที่ชอบทำตัวหวังดี คอยแจ้งเตือนว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณมีไวรัส (virus) เพียบ ก่อนที่จะแนะนำให้คุณติดตั้งตัวมันเข้าไปในเครื่อง โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ที่ใช้ชื่อว่า Anti-Virus 2010 และ Windows Police อีกทั้งยังใช้ภาพที่ดูคล้ายระบบรักษาความปลอดภัยของ Vista ของไมโครซอฟท์


Scareware มักจะใช้วิธีป๊อปอัพ โดยพวกมันอ้างว่าตรวจพบไวรัสในเครื่องของคุณ แต่ความจริงมันนั่นล่ะคือไวรัส หรือมัลแวร์ตัวร้าย ซึ่งผู้ใช้เพิ่งจะยินดีต้อนรับมันเข้าไปในเครื่องหลังจากคลิกให้มันช่วยจัดการให้ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า Scareware แฝงอันตรายที่ร้ายแรงสองประการด้วยกันคือ การที่ผู้ใช้หลงเชื่อให้ข้อมูลบัตรเครดิต เพื่อให้มันช่วยกำจัดไวรัส ในขณะเดีวกัน มันจะดาวน์โหลดเพื่อนๆ ตัวร้ายของมันเข้ามาในเครื่องของคุณอีกด้วย ซึ่งนอกจากจะถูกขโมยข้อมูลบัตรเดรดิตไปแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์ยังถูกป่วนด้วยมัลแวร์ต่างๆ ที่ดาวน์โหลดเข้ามาในเครื่องอีกด้วย

สถิติในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา Scareware แพร่ระบาดอย่างหนัก โดยไมโครซอฟท์กล่าวว่า Malicious Software Removal Tool ของทางบริษัทได้ทำความสะอาดพีซีที่โดน Scareware เล่นงานแล้วไม่ต่ำกว่า 8 ล้านเครื่อง อย่างไรก็ตาม มันยังไม่มีวิธีตรวจจับพวกมันได้ 100% คำแนะนำที่ดีที่สุดคือ ควรติดตั้งซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณจะดีกว่า เพราะหากป๊อปอัพที่โผล่ขึ้นมาไม่ใช่แอนตี้ไวรัสที่คุณติดตั้งเข้าไป ก็ไม่ควรจะคลิกยอมรับมัน (หรือบริเวณใดๆ บนไดอะล็อกบ๊อกซ์ที่ปํอปอัพขึ้นมา) และไม่มีบริการของแอนตี้ไวรัสตัวใดที่ใช้วิธีนี้ เพื่อเรียกร้องค่าบริการนับ 100 เหรียญฯ (ประมาณ 3,400 บาท) จากผู้ใช้ ยังไงก็กันไว้ดีกว่าแก้ และอย่าเชื่อพวกมันโดยง่าย




แล้วเจ้า Scareware จะส่งผลอะไรกับ FacebookScareware ใน Facebook แอบแฝงมาในรูปของ Application ซึ่งเมื่อทำการติดตั้งแล้ว นอกจากจะทำให้ Facebook ของท่านทำงานผิดเพี้ยน และช้าลงแล้ว ยังส่งผลถึงเพื่อนในกลุ่มของท่าน สร้างปัญหา และความรำคาญขึ้นด้วย จากข้อมูลบนเว็บไซต์ได้แจ้งเตือนถึง App อันตรายที่ควรเหลีกเลี่ยกในการนำมาติดตั้งได้แก่


รายชื่อแอพพลิเคชั่นอันตรายบน facebook ที่ทางเว็บไซต์ Facerocks ได้ประกาศเตือนขึ้นไว้เป็นบัญชีดำ ได้แก่


หากท่านมีอาการประหลาดหรือไม่แน่ใจ ลองเข้าไปตรวจสอบ และดำเนินการลบ App เหล่านี้ โดยคลิก ที่ links นี้ เพื่อทำการแก้ไข เพื่อความปลอดภัยต่อตัวบัญชี facebook ของคุณ รวมทั้งกลุ่มเพื่อพ้องท่านในสังคมออนไลน์นี้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
www.arip.co.th
IT24Hrs
Readmore...
Sunday, June 10, 2012

เริ่มต้นรู้จัก Harddisk อุปกรณ์เก็บข้อมูล

0 comments
 

Hard Disk   คือ  อุปกรณ์สำคัญสำหรับใช้จัดเก็บ บริหารข้อมูล ในระบบคอมพิวเตอร์ ลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก สามารถจัดเก็บ หรือลบข้อมูลได้อย่างถาวร ด้วยระบบไฟฟ้า  โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เมื่อบันทึกข้อมูลลงจานแล้วข้อมูลจะคงอยู่ไม่สูญสลาย ดังนั้น  Hard Disk  จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ  โปรแกรม  และข้อมูล




ส่วนประกอบของ Hard Disk
1. แขนของหัวอ่าน (Actuator Arm)
ทำงานร่วมกับ Stepping Motor ในการหมุนแขนของหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม สำหรับการอ่านเขียนข้อมูล โดยมีคอนโทรลเลอร์ ทำหน้าที่แปลคำสั่งที่มาจากคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็เลื่อนหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่ต้องการ เพื่ออ่านหรือเขียนข้อมูล และใช้หัวอ่านในการอ่านข้อมูล ต่อมา Stepping Motor ได้ถูกแทนด้วยVoice Coil ที่สามารถทำงานได้เร็ว และแม่นยำกว่า Stepping Motor


2 . หัวอ่าน (Head)
เป็นส่วนที่ใช้ในการอ่านเขียนข้อมูล จะอยู่ที่ส่วนปลายของแขนหัวอ่าน (Actuator Arm) ภายในหัวอ่านมีลักษณะเป็น ขดลวด โดยในการอ่านเขียนข้อมูลคอนโทรลเลอร์  จะนำคำสั่งที่ได้รับมาแปลงเป็นแรงดันไฟฟ้าแล้วป้อนเข้าสู่ขดลวดทำให้เกิดการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็ก ไปเปลี่ยนโครงสร้างของสารแม่เหล็ก ที่ฉาบบนแผ่นดิสก์ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลขึ้น

3. แผ่นจานแม่เหล็ก (Platters)
มีลักษณะเป็นจานเหล็กกลมๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กวางซ้อนกันหลายๆชั้น (ขึ้นอยู่กับความจุ) และสารแม่เหล็กที่ว่าจะถูกเหนี่ยวนำให้มีสภาวะเป็น 0 และ1 เพื่อจัดเก็บข้อมูล โดยจานแม่เหล็กนี้จะติดกับมอเตอร์ ที่ทำหน้าที่หมุน แผ่นจานเหล็กนี้ ปกติ Hard Disk  แต่ละตัวจะมีแผ่นจานประมาณ 1-4 แผ่นแต่ละแผ่นก็จะเก็บข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้าน

4. มอเตอร์หมุนจานแม่เหล็ก (Spindle Moter)
เป็นมอเตอร์ที่ใช้หมุนของแผ่นแม่เหล็ก ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อความเร็วใน การหมุน ของ Hard Disk เพราะยิ่งมอเตอร์หมุนเร็วหัวอ่านก็จะเจอข้อมูลที่ต้องการเร็วขึ้น ซึ่งความเร็วที่ว่านี้จะวัดกันเป็นรอบต่อนาที ( Rovolution Per Minute หรือย่อว่า RPM ) จาก Hard Disk รุ่นเก่าดั้งเดิมที่หมุนด้วยความเร็ว 3,600 รอบต่อนาที แต่ในปัจจุบัน พัฒนามาเป็น 5,400 รอบต่อนาที  7,200 รอบต่อนาที จนถึง 10,000 รอบต่อนาที

5. เคส ( Case /body)
มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม หุ้มด้านนอก เพื่อป้องกันความเสียหาย ที่เกิดจากการหยิบ จับ และป้องกันฝุ่นละออง

ประเภทของ Hard disk
หากเราจะแบ่งชนิดของ Hard disk สามารถแบ่งได้หลายลักษณะ แต่ถ้าแบ่งตามลักษณะการเชื่อมต่อ (อินเทอร์เฟซ) จะมี 5 ประเภทคือ

1. แบบ IDE (Integrate Drive Electronics)
แบบ IDE เป็นอินเทอร์เฟซรุ่นเก่า ที่มีการเชื่อมต่อโดยใช้สายแพเชื่อมต่อสัญญาณขนาด 40 เส้น โดยสายแพ 1 เส้นสามารถที่จะต่อ Hard Disk ได้ 2 ตัว บนเมนบอร์ดนั้นจะมีขั้วต่อ IDE อยู่ 2 ขั้วด้วยกัน ทำให้สามารถพ่วงต่อ Hard Disk ได้สูงสุด 4 ตัว มีความเร็วสูงสุดในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 8.3 เมกะไบต์/ วินาที สำหรับขนาดความจุก็ยังน้อยอีกด้วย เพียงแค่ 504MB เท่านั้นเอง






2. แบบ E-IDE (Enhanced Integrated Drive Electronics)
แบบ E-IDE พัฒนามาจากประเภท IDE ด้วยสายแพเชื่อมต่อสัญญาณ ขนาด 80 เส้น ผ่านคอนเน็คเตอร์ 40 ขาเช่นเดียวกันกับ IDE ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพ ในการทำงานให้มากขึ้น โดย Hard Disk  ที่ทำงานแบบ E-IDE นั้นจะมีขนาดความจุที่สูงกว่า 504MB และความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงขึ้น โดยสูงถึง 133 เมกะไบต์ต่อวินาทีเลยทีเดียว



3. แบบ SCSI (Small Computer System Interface)
แบบ SCSI (หรือที่เรียกว่า สะกัสซี่) เป็น Hard Disk  ที่มีอินเทอร์เฟซที่แตกต่างจาก E-IDE โดย Hard Disk แบบ SCSI จะมีการ์ดสำหรับควบคุมการทำงาน โดยเฉพาะ ซึ่งเรียกว่า การ์ด SCSI สำหรับความสามารถของการ์ด SCSI นี้ สามารถที่จะควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่มีการทำงานแบบ SCSI ได้ถึง 7 ชิ้นอุปกรณ์ด้วยกัน ผ่านสายแพรแบบ SCSI อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลของ Hard Disk แบบ SCSI จะมีความเร็วสูงสุดถึง 320 เมกะไบต์/วินาที รวมถึงกำลังรอบในการหมุนของจานดิสก์อย่างต่ำก็หลักหมื่นโดยปัจจุบันแบ่งเป็น 10,000 และ 15,000 รอบต่อนาที ซึ่งมีความเร็วที่มากกว่าประเภท E-IDE อยู่เยอะ ส่งผลให้ราคานั้นย่อมที่จะแพงเป็นธรรมดา โดยส่วนใหญ่จะนำ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบบ SCSI มาใช้กับงานด้านเครือข่าย (Server) เท่านั้น



4.แบบ Serial Attached SCSI (SAS)
เป็น interface ที่พัฒนามาจาก SCSI  โดย บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี และบริษัทแอลเอสไอ ลอจิก  มีลักษณะเป็น port เชื่อมต่อแบบพอร์ตคู่ ที่มีอัตราการถ่ายโอนข้อมูลที่ระดับความเร็ว 3 กิกะบิตต่อวินาที โดยที่ Serial Attached SCSI (SAS) ได้ถูกกำหนดขึ้นเป็นมาตรฐานใหม่ สำหรับประสิทธิภาพและการปรับขนาดได้ และยังสร้างปรากฏการณที่ไม่เคยมีมาก่อน สำหรับความเข้ากันได้ของระบบและความยืดหยุ่นสำหรับโซลูชั่น ทางด้าน การจัดเก็บข้อมูลในองค์กร ซึ่งคุณสมบัตินี้ ช่วยให้ผู้จัดการทางด้านไอที มีประสิทธิภาพในการลดจำนวนของส่วนประกอบต่างๆ ทางด้านไอทีในองค์กรไปได้ รวมถึงลดความซับซ้อนที่เกิดขึ้น ในโซลูชั่น ทางด้าน Storage นอกจากนี้ SAS ยังมีความเหมาะสมทางด้านอื่นๆ อีก เช่น ให้ความจุสูงขณะที่ มีราคาในการสร้างที่ต่ำกว่า เพื่อเหมาะสำหรับโซลูชั่น ที่ราคาประหยัด นอกจากนั้นในการประยุกต์ใช้งานยังสามารถที่จะรวมกันระหว่า SAS และ SATA เข้ากันได้ ซึ่งเหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง โดยมีค่าใช้จ่ายต่อประสิทธิภาพที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและการทำงานที่เหมาะสมได้ง่าย



5. แบบ Serial ATA
แบบ Serial ATA  เป็นอินเทอร์เฟซที่กำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน และมีการพัฒนาไปสู่ Serial ATA II  และ Serial ATA III ตามลำดับ  Serial ATA ถือกำเนิดมาจากความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลไม่สามารถไล่ตามทัน SCSI ได้ ดังนั้นเมื่อ Parallel ATA หรือ E-IDE เจอขอจำกัดเรื่องของความเร็วที่พัฒนาอย่างไรก็ไม่ทัน SCSI ซะที ส่งผลให้บรรดาผู้ผลิต Hard Disk  ต่างพากันหันมาให้ความสนใจเทคโนโลยีต่อเชื่อมรูปแบบแบบใหม่ที่เรียกว่า Serial ATA กันเป็นแถว โดยให้อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล Serial ATA สูงสุดถึง 150 เมกะไบต์ต่อวินาที Serial ATA II อัตราความเร็ว 300 เมกะไบต์ต่อวินาที  โดยที่เทคโนโลยี Serial ATA นี้ถูกพัฒนาขึ้นโดยกลุ่มผู้พัฒนา Serial ATA ซึ่งได้เผยข้อกำหนดคุณสมบัติสำหรับ Serial ATA 1.0 ขึ้น ด้วยคาดหวังว่าจะสามารถ ขยายช่องสัญญาณ (Bandwidth) ในการส่งผ่านข้อมูลได้เพิ่มขึ้นถึง 2-3 เท่า และยังรองรับข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น ไม่เฉพาะ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) เพียงเท่านั้นที่จะมีการเชื่อมต่อในรูปแบบนี้ แต่ยังรวมไปถึง อุปกรณ์ตัวอื่นๆ อย่าง CD-RW หรือ DVD อีกด้วย



เราสามารถวัดประเมินประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ได้จากการทำงานใน 2 ภาคส่วนคือ
1.      เวลาในการค้นหาข้อมูล (Seek Time) คือเวลาที่ข้อมูลถูกอ่านขึ้นมาและส่งต่อไปให้กับซีพียู โดยปกติประมาณ 10 ถึง 20 มิลลิวินาที
2.      อัตราการไหลของข้อมูล (Data Rate) คือปริมาณ (จำนวนไบต์ต่อวินาที) ที่หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์สามารถส่งผ่านไปให้กับซีพียูหรือตัวประมวลผล ซึ่งปกติมีอัตราประมาณ 5 ถึง 40 เมกะไบต์ต่อวินาที

Hard Disk ทำงานอย่างไร
จากการศึกษารายละเอียดมาจากด้านบน เรามาดูวิดีทัศน์ถึงรูปลักษณะของการทำงานกัน ซึ่งจะสมมุติสถานการณ์ในการใช้คำสั่งต่างๆ อาทิ การลบไฟล์ข้อมูล การ Copy / Paste ... ว่า หัวอ่านและแขนหัวอ่าน จะททำงานในลักษณะใด



ขนาดของตัว(Size) Harddisk
ปัจจุบัน (2012)มีอยู่ 3 ขนาด
1. ขนาด 3.5 นิ้ว
2. ขนาด 2.5 นิ้ว

ขนาดความจุ(Capacity) ของ Hard disk
ปัจจุบัน (2012) Hard disk มีความจุค่อนข้างสูง(มาก) สูงถึง 4 TB คาดการณ์ว่า ภายในปี 2015 จะมีความจุสูงถึง 100 TB
Readmore...

เทคโนโลยี Bluetooth

0 comments
 
ในแวดวงการใช้ Mobile Device ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ทุกประเภท หรือ โทรศัพท์มือถือ ไม่ก็Tablet  จะมีเทคโนโลยีไรสายที่ควบคู่กันอยู่ นั่นคือ WiFi และ Bluetooth  ซึ่ง WiFi จะมีคนรู้จักเป็นอย่างดี ในด้านการเชื่อมต่อเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สาย  แต่กับเทคโนโลยี Bluetooth อาจจะมีคำถามว่า Bluetooth คืออะไร  และก็มีไม่น้อยที่ไม่รู้ว่า เอาไปใช้งานอะไร


โดยแท้จริงแล้ว เทคโนโลยี Bluetooth เป็นเทคโนโลยีความถึ่วิทยุคลื่นสั้น ที่คาดว่าจะเข้ามาแทนที่การใช้สายเคเบิลและอินฟาเรดในในอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้ลดข้อยุ่งยากจากการใช้สายเคเบิลซึ่งไม่สะดวก ซึ่งหากอุปกรณ์อยู่ในรัศมีของคลื่นก็สามารถเชื่อมการติดต่อได้ทันที ในอนาคต เทคโนโลยี Bluetooth จะถูกพัฒนา ให้เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อเครือข่ายภายในกลุ่มย่อย อาทิ ภายในรถยนต์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านต่อเชื่อมเข้ากับเครือข่ายภายใน หรือแม้กระทั่งเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมอุปกรณ์ในบ้านจากระยะไกลได้



กำเนิด Bluetooth
ผู้ที่เริ่มต้นเทคโนโลยี Bluetooth คือ บริษัท อีริคสัน โมบาย คอมมูนิเคชั่น โดยเริ่มต้นที่จะค้นคว้าวิจัยใน ปี 1994 โดยที่วิจัยถึงความเป็นไปได้ที่จะนำคลื่นสัญญาณวิทยุ มาใช้ระหว่างโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ต่างๆ และเป็นผู้นำชื่อ Bluetooth มาใช้


ส่วนที่มาของคำว่า Bluetooth นั้นความจริงแล้วเป็นการรำลึกถึงกษัตริย์ Harald Bluetooth ผู้ปกครองประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย ซึ่งในปัจจุบันเป็นกลุ่มผู้นำในด้านการผลิตโทรศัพท์มือถือป้อนสู่ตลาดโลก และระบบ Bluetooth นี้ ก็ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับโทรศัพท์มือถือ และเริ่มต้นจากประเทศในแถบนี้ด้วยเช่นกัน



การทำงานของ Bluetooth
Bluetooth เป็นการส่งข้อมูลแบบ 2 ทางระหว่างอุปกรณ์ กับอุปกรณ์ ที่มีเทคโนโลยี bluetooth เหมือนกัน สื่อสารด้วยเทคโนโลยีความถึ่วิทยุคลื่นสั้นช่วงความถึ่ 2.400 และ 2.4835 GHz.และเพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณ ( มีช่วงความถี่ใกล้เคียงกับสัญญาณ Microwave ) วิธีการส่งจะอาศัยเทคโนโลยีที่ชื่อว่า frequency hopping ซึ่งมีหลักการทำงานคือ จะแบ่งช่องสัญญาณออกเป็น 79 ช่องความถี่(ช่องละ 1 MHz) และจะทำการเปลี่ยนแปลงระดับของความถี่ในกำลังส่งสัญญาณ 1,600 ครั้งต่อ 1 วินาที



Bluetooth เชื่อมต่อในรูปแบบ oriented service ซึ่งจะมี 2 ช่องการสื่อสารในตัวเองที่เรียกว่า master และ Slave โดยอุปกรณ์ที่มีสถานะเป็น Master จะเป็นตัวส่งการเชื่อมต่อการสื่อสาร ส่วนตัวลูกข่ายหรือ Slave จะเป็นตัวที่ถูกค้นหาเข้ามาเชื่อมต่อ โดยในหนึ่งอุปกรณ์ Bluetooth สามารถสลับสถานะ ทำหน้าที่สลับกันได้  (เป็นได้ทั้ง master และ slave ในเวลาเดียวกัน เรียกว่า Scatternet)  สังเกตุได้จากภาพด้านบน notebook จะเป็น slave ของ เครื่อง PC แต่ในเวลาเดียวกัน ตัว notebook จะเป็น Master เชื่อมต่ออีก 2 อุปกรณ์(ในวงกรอบสีแดง)
โดยปกติแล้ว  Bluetooth นี้ สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้ 7 ตัว


ปัจจุบันข้อกำหนด Bluetooth ออกมาแล้วดังรายละเอียด ด้านล่าง
Bluetooth 1.0
Bluetooth 1.1
Bluetooth 1.2 มีความเร็ว 721 Kbps (1Mbps)
Bluetooth 2.0 มีความเร็ว 2.1 Mbps
Bluetooth 2.0 EDR
Bluetooth 2.1 EDR มีความเร็ว 3.0 Mbps
Bluetooth 3.0 มีความเร็ว 24 Mbps
Bluetooth 4.0           

EDR : Enhanced Data Rate เพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุดเป็น 3 Mbps.

ปัจจุบัน(2012) เรากำลังใช้มาตรฐาน Bluetooth 3.0 ซึ่งในมาตรฐานนี้ มีคุณลักษณะเฉพาะด้านการประหยัดพลังงาน และใช้มาตราฐานเดียวกับ Wifi คือ IEEE 802.11

อัตราสูงสุดในการส่งข้อมูลผ่าน Bluetooth คือ 1 MBit/s ใน version 1.2 ซึ่งใน version 2.0+EDR(enhanced data rate)ได้เพิ่มเป็น 3 MBit/s ซึ่งฝั่ง master ใช้การจองแบบ SCO (synchronous connection oriented) โดยในอุปกรณ์หลัก จะรองรับการเชื่อมต่อและควบคุมอุปกรณ์ที่เข้ามาเชื่อมต่อได้มากที่สุด 3 ชิ้น ในตัว piconet ซึ่งจะทำการจองเป็นระยะ ๆ การเชื่อมต่อนั้นยังสามารถส่งแบบ symmetric data rates ระหว่างผู้ทำการติดต่อสื่อสารโดยส่วนใหญ่ใช้สำหรับการส่งสัญญาณเสียง การเปลี่ยนจาก timeslot มาใช้ point-to-multipoint packets ระหว่างตัว master และ ตัว slave ทุกตัวภายใน piconet กับ ACL (asynchronous connection less) packet นั่นเป็นการเชื่อมต่อที่มีอัตราการส่งข้อมูลสูงขึ้นเฉพาะหนึ่งทิศทาง และถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างภายใน class ของอุปกรณ์ กับปริมาณการใช้พลังงานที่ใช้สูงขึ้นจาก class 1 ถึง class 3 พร้อมทั้งมีระยะในการทำงานที่ไกลขึ้น โดย Bluetooth ตัวหนึ่งนั้นสามารถใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นจากการใช้พลังงานที่ต่ำกว่าปกติ โดยที่มีรายละเอียดดังนี้
  • Class 1 : ใช้พลังงานในการส่ง 100 mW (ส่งได้ 100 เมตร)
  • Class 2 : ใช้พลังงานในการส่ง 25 mW (ส่งได้ 20 เมตร)
  • Class 3 : ใช้พลังงานในการส่ง 1 mW (ส่งได้ 10 เมตร)

ความปลอดภัยในการเชื่อมต่อ และ ส่งข้อมูลผ่านทาง Bluetooth 
ความปลอดภัยในการเชื่อมต่อ และ ส่งข้อมูลผ่านทาง Bluetooth มีเป้าหมายใน 4 ประการ
  1. Confidentiality (การรักษาความลับ)
  2. (device) Authentication (การพิสูจน์ตัวตน)
  3. (device) Authorization (การกำหนดสิทธิ์)
  4. Integrity (ความถูกต้อง สมบูรณ์ของข้อมูล)
นอกเหนือจากนี้ Bluetooth ยังได้กำหนดระดับค่าความปลอดภัย ไว้ 3 ระดับ คือ
  1. ระดับ Security Mode 1 : เป็นระดับที่ไม่มีระบบความปลอดภัย
  2. ระดับ Security Mode 2 : Service level security (ความปลอดภัยในระดับการให้บริการ) เช่นพวก Application ต่าง ๆ ที่สามารถปรับปรุงให้มีการ Cryptographic (การเข้ารหัสรูปแบบต่าง ๆ)
  3. ระดับ Security Mode 3 : Device level security(ความปลอดภัยในระดับอุปกรณ์) หมายถึง การเข้าใจการเข้ารหัสซึ่งเป็นการพัฒนาใน LMP รวมถึง Application ต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากนี้
Bluetooth Packet
ในการส่งข้อมูลของ Bluetooth จะมีการส่งเป็น Packet ซึ่งแต่ละ Packet จะประกอบด้วย 3 ส่วน ซึ่งก็คือ (1) Access Code ส่วน Code มีขนาด 72 Bit และ(2) Header จะมีขนาด 54 Bit (3) ส่วน Payload จะมีขนาด 0 – 2745 Bit โดยจะขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานเป็นหลัก

ลักษณะของ Packet มีอยู่ 2 ลักษณะ
  1. Packet ควบคุม มี 2 แบบ คือมีแต่ Access Code หรือ มีทั้ง Access Code + Header
    แต่ไม่มี Payload
  2. Packet ข้อมูล จำเป็นต้องมีครบทั้ง 3 ส่วนคือ Access Code + Header + Payload
Bluetooth Core Protocols
  • Base band และ Link Control ทั้งคู่เป็นส่วนที่ใช้เชื่อมต่อกันระหว่างอุปกรณ์ Bluetooth ในชั้นนี้มีหน้าที่สำคัญในการจับคู่สัญญาณความถี่คลื่นวิทยุ
  • Audio เป็นส่วนที่เชื่อมต่อโดยตรงกันกับ Base band ใช้สำหรับการส่งและรับ ข้อมูลประเภทเสียง
  • Link Manager Protocol (LMP) ทำหน้าที่เชื่อมต่อและควบคุมการทำงานต่างๆ เช่น เข้ารหัส และ การตรวจสอบแพ็คเกจที่มาจาก Base band
  • Logical Link Control and Adaptation Protocol (L2CAP) มีหน้าที่ในการรวม และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่มาจากแต่ละแพ็คเกจ
  • Service Discovery Protocol (SDP) มีหน้าที่ในการสำรวจตรวจสอบข้อมูลและ ลักษณะพิเศษของอุปกรณ์บลูทูธอื่นๆ
Cable Replacement Protocol RFCOMM
ทำหน้าที่จำลองข้อมูลที่ได้จาก L2CAP เป็นสัญญาณที่สามารถใช้ได้ใน แอพพลิเคชั่น
Telephony Protocol Telephony Control Protocol-Binary (TCS-BIN)
ทำหน้าที่กำหนดสัญญาณการ ควบคุม สำหรับสร้างข้อมูลเสียง
Adopted Protocols
  • OBEX (Object Exchange
    เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการส่งข้อมูลไฟล์
  • TCP/UIP/IP
    เป็นตัวกำหนดวิธีการที่จะให้อุปกรณ์บลูทูธสามารถติดต่อสื่อสาร กับอุปกรณ์อื่นๆ ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต รายละเอียดการใช้จะเป็น TCP/IP/PPP ส่วนในกรณีที่เป็นสำหรับ WAP จะใช้ UDP/IP/PPP

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Bluetooth
  • Encryption : 60-64Bit and 104/128Bit Wep Encryption
  • ระบบที่ต้องการ : PPC, Symbian Phone, Linux, Windows xxx
  • เป็น USB ฟอร์มแฟคเตอร์ที่มีความเหมาะสมต่อการใช้งานทั้งบนเคร ื่องเดสก์ทอปและโน้ตบุ๊ค
  • การแชร์ไฟล์ด้วยวิธี drag-and-drop จะทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการ coolaboration ทำได้อย่างง่ายดาย
ประโยชน์ของ BlueTooth
Bluetooth ถือเป็นเทคโนโลยีของการสื่อสารระยะใกล้ โดยใช้คลื่นวิทยุแทนการใช้เชื่อมต่อด้วยสาย ทำให้สามารถส่งผ่านข้อมูล หรือการเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าด้วยกัน ช่วยลดความยุ่งยาก อีกทั้งยังเพิ่มความสะดวกสบายในการทำงานมากขึ้นด้วย  ซึ่งโดยสรุป bluetooth จะทำงานใน 2 ลักษณะ คือ
  1. รับส่งไฟล์ข้อมูล(ภาพ,เสียง หรือ video) ระหว่างอุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยี Bluetooth 
    อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ Tablet  
  2. การเชื่อต่อ หรือการควบคุมอุปกรณ์ร่วม
    อาทิ เมาส์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หูฟังกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 
    หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่กับ คอมพิวเตอร์ PC และ Notebook


 อาจกล่าวได้ว่า  Bluetooth เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารที่ เหมาะสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์หรือ Deviceขนาดเล็กๆ  เพื่อสร้าง Network วงแคบๆส่วนตัวที่เรียกว่า PAN ( Personal area network )

ศึกษาเพิ่มเติมที่ : http://www.bluetooth.com/
อ่านเพิ่มเติมที่ wikipedia
Readmore...
Saturday, June 9, 2012

SSD เทคโนโลยีหน่วยเก็บข้อมูลอนาคต

0 comments
 

SSD (Solid State Drive)
SSD (Solid State Drive) เป็นเทคโนโลยีใหม่ในการประยุกต์ใช้ Flash Memory มาทำเป็น Harddisk ประโยชน์ที่ได้รับที่เห็นกันอยู่ ก็จะพบว่า ความไวในการ เข้าถึงข้อมูลจะทำได้ไวกว่า Harddisk ที่ใช้กันอยู่ในท้องตลาดซึ่งเป็น Harddisk แบบที่ใช้จานแม่เหล็ก ที่เวลาเข้าถึงข้อมูลจะต้องให้ Harddisk หมุนไปแล้วจึงหาสืบค้นข้อมูลที่ถูกเก็บใน harddisk ได้ โดยวิธีนี้ทำให้ เกิดความร้อนขึ้น ในตัวของ Harddisk เอง ยิ่งมีความไวของมอเตอร์ ที่ใช้ในการหมุนตัว จานแม่เหล็ก มากเท่าไรก็จะ ทำให้ มีความร้อนสูงมากขึ้นด้วย ดังนั้นการออกแบบจึงต้องมีการเพิ่ม พื้นที่ในการระบายความร้อนให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดเสถียรภาพในการทำงานของ Server ได้ การพัฒนาเทคโนโลยีของ Harddisk นั้นก็ พัฒนา มาหลายปี แต่ยังคงเป็นเทคโนโลยี่ที่ใช้มอเตอร์และจานแม่เหล็ก จนถึงปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านนี้โดยการนำ meomory หรือ การนำ Solid State มาทำเป็น Harddisk ด้วยเหตุผลที่ว่า การเข้าถึงข้อมูล การเขียนข้อมูล ลงไปบนตัว Harddisk การคำนึงถึงความร้อนที่เกิดขึ้นบนตัว Harddisk เสียงที่เกิดจากการหมุนของมอเตอร์บนตัว Harddisk
ดังนั้น ปัญหาพวกนี้จะหมดไปถ้าเรานำเทคโนโลยี Solid State มาใช้ ถ้านำไปใส่ใน Notebook จะช่วยทำให้ ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ Notebook ทำงานได้ดีขึ้น เพราะจะกินพลังงานต่ำ เมื่อเทียบกับ harddisk แบบเดิม

การทำงานของมันก็คือ Memory แบบ Flash เมื่อมีการอ่านหรือ เขียนข้อมูล ก็จะยังจดจำข้อมูลที่มีการ Update ครั้งสุดท้ายไว้ได้ ซึ่งจะแตกต่างกับ RAM (Random Access Memory) ซึ่งข้อมูลจะหายไปเมื่อเราปิดเครื่องหรือ ไม่มีแหล่งจ่ายไฟเลื้ยงตัวอุปกรณ์ ข้อมูลที่บรรจุอยู่ด้านในก็จะหายไปด้วย แต่ Flash Memory ไม่ใช่อย่างนั้น เมื่อเราทำการ เขียนข้อมูลลงไปที่ Flash Memory แล้ว ข้อมูลเหล่านั้นไม่ได้สูญหายไปไหน ยังคงเก็บเอาไว้ เหมือนต้นฉบับทุกประการ ดังนั้นจึงมีคนนำเทคโนโลยี่นี้มาต่อยอด และพัฒนา มาเป็น Solid State Drive (SSD) ในที่สุด ไม่มีส่วนที่เคลื่อนไหวเหมือนกับ Harddisk จานแม่เหล็ก เพราะใช้ Flash เป็นตัว จัดเก็บข้อมุล หากศึกษาจากวิดีโอด้านล่าง จะเห็นความแตกต่างของ SSD กับ HDD อย่างเห็นชัดเจน


ข้อดีของ Solid State Drive (SSD)
  1. ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลไวกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับ Harddisk ที่เราใช้กันในปัจจุบัน
  2. ไม่เปลืองพลังงานไฟฟ้า
  3. ไม่มีเสียงดัง เนื่องจากเก็บข้อมูลด้วย Flash Memory ดังนั้นจึงไม่มีชิ้นส่วนที่ต้องเคลื่อนที่
  4. ไม่มีความร้อน
  5. สามารถตกจากที่สูงได้ ในขณะที่ข้อมูลด้านในไม่เป็นอะไรเลย เมื่อเปรียบเทียบกับ Harddisk แบบที่เราใช้การกันใจปัจจุบัน (สามารถกระแทกได้)
  6. ความไวในการ Boot เครื่อง

ข้อเสียของ Soild State Drive(SSD)
  1. การเขียนข้อมูลจะช้า เพราะมันคือ Flash การเขียนของมันจะต้องทำการ เพิ่มกำลังไฟฟ้าให้สูงขึ้นพอที่จะทำให้ข้อมูลใหม่เพิ่มเข้าไปได้
  2. ราคาค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับ Harddisk แบบที่เราใช้กันในปัจจุบัน
  3. ความจุ (เนื้อที่) น้อยเพราะปัจจุบันสายการผลิต มีอยู่ 3 ขนาดคือ 64, 128 และสูงสุดอยู่ที่ 256 GB
 

บทสรุปของ Solid State Drive(SSD)
Hard drive แบบ SSD ได้ถูกพัฒนาให้เป็นหน่วยเก็บข้อมูล เช่นเดียวกับ Harddisk : HDD แบบจานแม่เหล็กที่ใช้ในปัจจุบัน   แม้ว่า HDD จะมีการพัฒนาที่ลดขนาด เพิ่มความจุและทำงานได้เงียบมากขึ้น แต่ HDD ก็ยังเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานสูง มีความร้อน มีน้ำหนัก มีเสียงในระหว่างการทำงาน การเข้ามาของ SSD ก็ได้กลายเป็นทางเลือกของผู้ใช้งานในผู้ใช้ระดับ Hi-End ที่ต้องการความเสถียร ต้องการความรวดเร็วในการอ่าน เขียนข้อมูล  แต่ก็ต้องแรกกับราคาที่สูงมากๆ ที่สำคัญ ความจุขนาดใหญ่ๆ มากๆยังไม่มีจำหน่าย
Readmore...

Smart phone

0 comments
 
เมื่อวานนี้ (16 ตุลาคม 2555) ได้มีการประมูล กสทช. การใช้คลื่นย่านความถี่กัน โดยต่อไปนี้ ประเทศไทยจะเริ่มมีการแข่งขันการให้บริการคลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz (บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ช่วงความถี่ที่ 1950 MHz – 1965 MHz และ 2140 MHz – 2155 MHz  บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ย่าน 1935 MHz – 1950 MHz และ 2125 MHz – 2140 MHz  บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด ย่านความถี่ 1920 MHz – 1935 MHz และ 2110 MHz – 2125 MHz) ส่งผลให้การสื่อสารผ่ายอุปกรณ์ Mobile Phone มีความรวดเร็ว ช่องข้อมูลมีการส่งผ่านได้มากขึ้น เราคงได้เห็นการเปลี่ยนแปลงการติดต่อสื่อสารที่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพกัน เรามาเข้าเรื่องในบทความกันดีกว่า
 
วงการมือถือในปัจจุบัน ได้มีการเรียกขานคำว่า  Smart Phone กันอย่างกว้างขวาง  นอกจากจะมีหลากหลายแบรนด์ หลากหลายรุ่นที่ออกมา ทำให้หลายคน แยกแยะได้ลำบาก หลายคนอาจจะตั้งคำถามว่า Smart Phone จริงๆแล้วคืออะไร มันแตกต่างจากโทรศัพท์มือถืออย่างไร  เรามาศึกษากัน


นับตั้งแต่ บริษัทโมโตโรลา โดย มาร์ติน คูเปอร์ (Martin Cooper)  ได้พัฒนาและผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรก (Motorola Dynatac ) ออกมาแสดงและสาธิต เมื่อ 3 เมษายน พ.ศ. 2516 โดยเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ และน้ำหนักมาก มีน้ำหนักประมาณ 1.1 กิโลกรัม  พัฒนาการของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ก็เปลี่ยนแปลงโลกการติดต่อสื่อสาร และปฏิวัติรูปแบบอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด   สถิติล่าสุดปี 2011 มีจำนวนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั่วโลกไม่น้อยกว่า 5.6 พันล้านเครื่อง

  เพื่อให้เห็นพัฒนาการของโทรศัพท์เคลื่อนที่  ตั้งแต่ปีแรกที่กำเนิดขึ้นมา จนถึงปัจจุบัน(2011)  มีการพัฒนารูปร่าง และแบบต่างๆ เปลี่ยนไป ในลักษณะใดบ้าง ลองดูวิดีทัศน์ ข้างล่าง ศึกษาเพิ่มเติม



จากวิดีทัศน์ข้างบน จะเห็นว่า โทรศัพท์เคลื่อนที่ มีพัฒนาการใน 2 เส้นทางหลักๆ นั่นคือ โทรศัพท์เคลื่อนที่(ไร้สาย) ธรรมดา กับโทรศัพท์ที่มีระบบปฏิบัติการอยู่ภายใน มีโปรแกรมการทำงานที่มากกว่าการโทรศัพท์


Smart Phone คืออะไร

เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีความสามารถที่เพิ่มเติมนอกเหนือจากโทรศัพท์มือถือทั่วไป    สมาร์ตโฟนได้ถูกมองว่าเป็นคอมพิวเตอร์พกพาที่ทำงานในลักษณะของโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยที่สามารถเชื่อมต่อความสามารถหลักของโทรศัพท์มือถือ เข้าร่วมกับแอปพลิเคชันของโทรศัพท์เอง   สมาร์ตโฟนสามารถให้ผู้ใช้งานติดตั้งโปรแกรมเสริมสำหรับเพิ่มความสามารถของโทรศัพท์ตัวเอง โดยรูปแบบนั้นขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มของโทรศัพท์และระบบปฏิบัติการ

Smart Phone หมายถึงโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถพิเศษเพิ่มเติมของ PDA เข้าไป ทำให้สามารถมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น รับส่งอีเมล์ มีปฏิทิน จัดทำตารางนัดหมาย และ contact เป็นต้น เรียกได้ว่า Smart Phone เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดย่อมเลยทีเดียว


SMARTPHONE เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่มีความสามารถหลากหลาย ดังจะเห็นได้จาก มีการพัฒนาในเรื่องหน่วยประมวลผล (CPU) ที่สามารถทำงานรวดเร็วทันต่อความต้องการของผู้ใช้งาน  มีหน่วยความจำที่มากขึ้น หน้าจอที่มีขนาดใหญ่และมีความคมชัด (บางรุ่นหน้าจอเป็นแบบสัมผัส(Touch Screen)  และความสามารถเกี่ยวกับกล้องดิจิตอล ที่สามารถถ่ายทั้งภาพนิ่งและภาพวีดีโอที่มีคุณภาพสูง  ความสามารถในเรื่องของการจัดการในเรื่องการนัดหมายตามที่เรากำหนด (Calendar)  โดยสามารถระบุวันเวลาที่มีการเริ่มต้นและวันเวลาทีสิ้นสุดการนัดหมาย  ตลอดจนรายละเอียดอื่น ๆ เช่น สถานที่ที่เราได้นัดหมายไว้กับลูกค้า , เพื่อนและครอบครัว ตลอดจนบุคคลอื่น ๆ  รวมไปถึงสามารถมีการเตือนเมื่อใกล้เวลานัดหมาย(โดยสามารถตั้งค่าได้ตามความต้องการ)  รวมไปถึงแอพพลิเคชั่นที่เราหาดาวน์โหลดหรือซื้อมาเพิ่มเติม เช่นความสามารถในการนำทาง หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า GPS (Global Positioning System) ซึ่งนับว่า มีประโยชน์มากสำหรับการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง  ๆ  โดยสามารถวางแผนการเดินทางไปยังจุดหลายปลาทางได้อย่างคร่าว ๆ  และนำทางไปยังจุดหมายปลายทาง (เพื่อหลีกเลี่ยงการหลงทาง)  แต่สิ่งหนึ่งที่บุคคลส่วนใหญ่ใช้ความสามารถของ SMARTPHONE เกี่ยวกับความสามารถในการเชื่อมต่อ (Connectivity) เพื่อเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยบทความนี้จะมุ่งเน้นความสามารถของ  SMARTPHONE ในเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อมต่อเป็นหลัก


คุณสมบัติเด่นของ Smart Phone

ระบบปฏิบัติการ หรือ OS (Operating System) เป็นระบบที่ช่วยให้การทำงานของโทรศัพท์มีประสิทธิภาพ และเป็นตัวกำหนดว่าโปรแกรมต่างๆ ที่จะสามารถติดตั้งเข้ากับ Smart Phone ได้หรือไม่ด้วย สำหรับระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมใช้งานบน Smart Phone ได้แก่ Symbian OS, Windows Mobile, Palm OS หรือแม้กระทั่ง Linux OS


วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ
  •  1G      ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ analog ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น NMT, AMPS, DataTac
  •  2G      ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น GSM, cdmaOne, PDC
  •  2.5G   ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่เริ่มนำระบบ packet switching มาใช้
                ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น GPRS
  •  2.75G ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น CDMA2000 1xRTT, EDGE
  •  3G      ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่มีความสามารถครบทั้งการสื่อสารด้วยเสียง
                และข้อมูลรวมถึงวีดิโอ ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น W-CDMA, TD-SCDMA,
                CDMA2000 1x-EVDO
  •  3.5G   ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงขึ้นกว่า 3G
                เช่น HSDPA ใน W-CDMA
  •  4G      ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ Real-Digital สามารถเชื่อมต่อข้อมูล 3 แบบ
                ภาคพื้นดิน CDMA PA-H และการเชื่อมต่อ ewifi และ Wi-Max
                เพื่อการเชื่อมภาพและเสียงเป็นข้อมูลเดียวกัน

How Many Mobile Phone Users in the World
เรามาดูสถิติจำนวนเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่  ที่มีใช้งานบนโลกใบนี้ (สถิติบางประเทศอยู่ในช่วงปี 2010 และ 2011



อ้างอิง
http://www.howmanyarethere.org/how-many-mobile-phone-users-in-the-world/

บทความที่น่าอ่าน
http://3g.siamphone.com/articles/2009/3g/page.htm
Readmore...

Android คืออะไร

0 comments
 

Android  คือระบบปฏิบัติการเหมือน Windows หรือ Linux หรือ iOS แต่ Android เป็นระบบปฏิบัติการ (Operating System) หนึ่ง ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล(Linux Kernel) จุดเริ่มต้นการพัฒนาโดย บริษัท แอนดรอยด์ (Android Inc.) ต่อมา บริษัท แอนดรอยด์ ก็ถูกซื้อโดย Google  เจ้าพ่อแห่งวงการ Search Engine และนำระบบปฏิบัติการนี้ ไปพัฒนาต่อ

จุดประสงค์หลักของระบบปฏิบัติการนี้ สำหรับใช้งานบน Mobile Device โดยเฉพาะ Smart Phone และ Tablet ลักษณะพิเศษของ Android ก็คือเป็นระบบปฏิบัติการแบบ OpenSource ที่ทุกคนสามารถนำไปพัฒนา หรือใช้ในผลิตภัณฑ์ของตนเองได้ (โดยใช้องค์ประกอบที่เป็น OpenSource หลายอย่าง เช่น  Linux Kernel, SSL, OpenGL, FreeType, SQLite, WebKit และเขียน Libraries Framework ของตัวเองเพิ่มเติม Google-developed Java libraries) ซึ่งช่วงปลายปี 2554 จึงมีข่าวคราวการนำ Android นี้ไปใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ที่ใช้งานด้านอินเทอร์เน็ตหรือ Netbook กัน



จากการกำเนิดของ Android ซึ่งถือเป็นระบบปฎิบัติการบน Mobile Device ที่มีความแข็งแกร่ง มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ Android ได้ก้าวเข้ามาเป็นคู่แข่งสำคัญของ iOS บนผลิตภัณฑ์ของ Apple ทั้ง iPhone และ iPad



รุ่นพัฒนาของแอนดรอยด์จะใช้รหัสชื่อเรียกขาน เป็นชื่อขนมหวาน โดยมีตัวอักษรขึ้นต้นเรียงลำดับกัน

รุ่น ชื่อเรียกขาน วันเปิดตัว
1.0 5 พฤศจิกายน 2550
1.1 9 กุมภาพันธ์ 2552
1.5 Cupcake (คัพเค้ก) 30 เมษายน 2552
1.6 Donut (โดนัท) 15 สิงหาคม 2552 (SDK)
2.0/2.1 Eclair (เอแคลร์) 26 ตุลาคม 2552 (2.0)
12 มกราคม 2553 (2.1 SDK)
2.2 Froyo (โฟรซเซนโยเกิร์ต) 20 พฤษภาคม 2553 (SDK)
2.3 Gingerbread (ขนมปังขิง) 6 ธันวาคม 2553 (SDK)
3.0/3.1 Honeycomb (รังผึ้ง) 22 กุมภาพันธ์ 2554 (SDK)
4.0 Ice Cream Sandwich (แซนด์วิชไอศกรีม) 19 ตุลาคม 2554 (SDK)
4.1 Jelly Bean ช่วงปลายปี 2555 (SDK)

สำหรับในปี 2555 Android เป็นปีของ Ice Cream Sandwich ซึ่งเริ่มมีให้ใช้ใน Smart Phone หลายๆรุ่น รวมถึง Tablet PC (ซึ่ง Tablet PC ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะแจกเด็กชั้น ป.1 ทั่วประเทศ  ก็ใช้ Android 4.0 Ice Cream Sandwich นี้เช่นกัน) นอกจากนี้ ช่วงปลายปี Google ก็เตรียมส่ง Android 5.0 สู่สนาม เพื่อกระตุ้นตลาดผู้ใช้ smart phone ในหลากหลายแบรนด์

สมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรเครื่องมือสื่อสารระบบเปิด (Open Handset Alliance)
Aplix (www.aplixcorp.com), Ascender Corporation (www.ascendercorp.com), Audience (www.audience.com), Broadcom (www.broadcom.com), China Mobile (www.chinamobile.com), eBay (www.ebay.com), Esmertec (www.esmertec.com), Google (www.google.com), HTC (www.htc.com), Intel (www.intel.com), KDDI (www.kddi.com), Living Image (www.livingimage.jp), LG (www.lge.com), Marvell (www.marvell.com), Motorola (www.motorola.com), NMS Communications (www.nmscommunications.com), Noser (www.noser.com), NTT DoCoMo, Inc. (www.nttdocomo.com), Nuance (www.nuance.com), Nvidia (www.nvidia.com), PacketVideo (www.packetvideo.com), Qualcomm (www.qualcomm.com), Samsung (www.samsung.com), SiRF (www.sirf.com), SkyPop (www.skypop.com), SONiVOX (www.sonivoxrocks.com), Sprint Nextel (www.sprint.com), Synaptics (www.synaptics.com), TAT - The Astonishing Tribe (www.tat.se), Telecom Italia (www.telecomitalia.com), Telefonica (www.telefonica.com), Texas Instruments (www.ti.com), T-Mobile (www.t-mobile.com), Wind River (www.windriver.com)

แหล่งอ้างอิงศึกษาเพิ่มเติม
1. http://www.android.com
2. http://www.openhandsetalliance.com/
3. http://android.opensource.com
Readmore...
Wednesday, June 6, 2012

แนวทางการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่

0 comments
 
ก่อนทำความเข้าใจกับเทคโนโลยีในเครื่องคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ หรือพกพาที่เรียกว่า Notebook เรามาทำความเข้าใจถึงประเภทหลักๆของ Notebook ที่มีขายและใช้กันในปัจจุบันนี้ ซึ่งตัว Notebook ตั้งแต่ถูกสร้างให้เป็นคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ ที่มีขนาดและน้ำหนักเริ่มแรก เฉียดๆ 4 กิโลกรัม ต่อมาก็พัฒนาให้เบาลง จนสามารถใช้คำว่าเคลื่อนที่และพกพาได้ เหลือน้ำหนักต่ำสุดประมาณไม่เกิน 1 กิโลกรัม ซึ่งปัจจุบัน เราสามารถ คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ แบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ได้ 3 กลุ่มหลัก

  1. Notebook
  2. Netbook
  3. Ultrabook


Notebook
ถือเป็นคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ พื้นฐาน ดั้งเดิม ที่มีขอบเขตสมรรถนะที่หลากหลาย ตั้งแต่พิมพ์งานจนถึงการประมวลผลหนักๆ ไม่ว่าจะเป็นเกมสามมิติ การคำนวนทางสถาปัตยกรรม หรือการ render ประมวลผลไฟล์ภาพยนตร์ มีขนาดหน้าจอตั้งแต่ 10 นิ้ว ถึง 17 นิ้ว น้ำหนักตั้งแต่ไม่ถึง 2 กิโล จนถึง 3 กิโลกรัมกว่าๆ ใช้งานด้วยแบตเตอรี่ได้ โดยเฉลี่ย 2 ชั่วโมง ราคาเกณฑ์เฉลี่ย 10,000 ถึง 90,000บาท ขึ้นไป
Netbook
เป็นพัฒนาการสายพันธ์ต่อมาของคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ ที่มีจุดประสงค์ใช้งานด้านการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต น้ำหนักเบา ใช้งานด้วยแบตเตอรี่ที่ยาวนาน ดังนั้นจึงถูกตัดองค์ประกอบต่างๆหลายส่วนออกไป อาทิ Optical Drive ที่เป็นชุดอ่านข้อมูลแผ่น DVD/CD รวมถึง port สำหรับเชื่อมต่อข้อมูลที่มีให้จำกัดแค่ใช้งานเพียง 1-2 port คุณลักษณะเด่นก็จะ เน้นที่ตัวเครื่องขนาดเล็ก ใช้งานด้วยแบตเตอรี่ได้ยาวนาน มากกว่า 4 ชั่วโมง มีขนาดหน้าจอโดยประมาณ 8 -10 นิ้ว น้ำหนักประมาณ กิโลกรัม เศษๆ ราคาเกณฑ์เฉลี่ย 10,000บาท หรือต่ำกว่า



Ultrabook
นับเป็นพัฒนาการล่าสุด (2011) ของคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ที่ถูกบัญญัติโดย intel (รายละเอียดอ่านเพิ่มเติม) ที่ปัจจุบัน ยังเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของตลาดผู้ใช้ ซึ่งเมื่อเปิดตัวออกมาครั้งแรก(โดย Apple) สร้างกระแสในตลาด แต่กลับไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควร อันมาจากราคาที่ค่อนข้างสูง คุณลักษณะโดยทั่วไป เน้นที่ บาง เบา ทนทาน รูปลักษณะที่โดดเด่นด้วยวัสดุ ใช้งานได้นาน รวมถึงเทคโนโลยีในการเปิดระบบที่รวดเร็ว ultrabook ก็เป็นคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่อีกชนิดที่ไม่มี Optical Drive เหมือนเช่น Netbook สมรรถนะที่ดีเช่น Notebook ใช้งานได้ยาวนานมากกว่า 5 ชั่วโมง ที่สำคัญน้ำหนักเบา มากๆ เฉลี่ยไม่เกิน 1.5 กิโลกรัม ราคาเกณฑ์เฉลี่ย 30,000 - 60,000บาท ขึ้นไป

ถ้าหากจะเลือกซื้อคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ สักตัว เรา ต้องตอบตัวเองก่อนว่า เราจะเอาไปใช้งานอะไร แล้ว ปัจจัยตัวแปรอยู่ที่ งบประมาณ ที่จะซื้อ ด้วย ส่วนใหญ่ของคนที่จะมีคอมพิวเตอรืเคลื่อนที่เครื่องแรก มักจะไปอยู่ที่ Notebook ฟอร์มดังเดิม ซึ่งมีให้เลือกในหลากหลายระดับ ที่สำคัญ มีหลากหลายราคา


ถ้าหากจะเลือกซื้อคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ สักตัว เรา ต้องตอบตัวเองก่อนว่า เราจะเอาไปใช้งานอะไร แล้ว ปัจจัยตัวแปรอยู่ที่ งบประมาณ ที่จะซื้อ ด้วย ส่วนใหญ่ของคนที่จะมีคอมพิวเตอรืเคลื่อนที่เครื่องแรก มักจะไปอยู่ที่ Notebook ฟอร์มดังเดิม ซึ่งมีให้เลือกในหลากหลายระดับ ที่สำคัญ มีหลากหลายราคา


แต่ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ประเภทใด หากจะพิจารณาองค์ประกอบเพื่อการตัดสินใจในการเลือกซื้อ ควรมองที่ปัจจัย ใน 2 กลุ่ม หลักๆ ดังนี้ 

ปัจจัยกลุ่มหลัก ได้แก่ (1)CPU  (2)ขนาดตัวเครื่องและหน้าจอ (3)หน่วยความจำชั่วคราว (4)Optical Drive (5)ส่วนเชื่อมต่อการแสดงผล (6)ส่วนเชื่อมต่อเครือข่าย (7)ส่วนเชื่อมต่ออุปกรณ์ข้อมูลภายนอก (8)กล้อง (9)การรับประกันและบริการหลังการขาย

ปัจจัยกลุ่มเสริม/สนับสนุน ได้แก่ (1)หน่วยเก็บข้อมูล, (2)การ์ดจอ, (3)แบตเตอรี่, (4)Finger scan

ปัจจัยกลุ่มหลัก
เรามาดูปัจจัยหลักที่ผู้ที่คิดจะเลือกซื้อ จะต้องมองไปที่ปัจจัยกลุ่มแรก ที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญกันก่อน

1. CPU หรือหน่วยประมวลผล
 ถือเป็นหัวใจสำคัญของคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่เลยทีเดียว ซึ่งคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ที่เรียกว่า Notebook นั้น CPU เป็นสิ่งที่เชื่อมติดมากับตัวแผลวงจรหลักเลย จะไม่สามารถเปลี่ยนใหม่(ถึงเปลี่ยนได้ก็ยากมาก) ที่สำคัญ CPU นี้มีราคาค่อนข้างสูงกว่าแบบ Desktop PC


CPU เป็นส่วนแรกที่ผู้ซื้อควรพิจารณา แต่ในความเป็นจริงของผู้ซื้อส่วนใหญ่ กลับไม่ได้พิจารณาเรื่องนี้เลย ซึ่ง CPU ทั้ง 2 ค่ายไม่ว่าจะ intel หรือ AMD ที่สร้างมาสำหรับ Notebook นั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างไปจากเครื่อง PC ทั่วไป โดยจะเน้นเรื่องของการประหยัดพลังงาน ลดความร้อนทำให้อายุการใช้งานนานขึ้น นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีหลายอย่างรวมอยู่ในซีพียูด้วย อาทิ เทคโนโลยีด้านกราฟิก ด้าน Wireless เป็นต้น  อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ (http://mediath2.blogspot.com/2012/04/notebook.html)



2 ขนาดตัวเครื่องและหน้าจอ
เป็นอีกส่วนที่ผู้ใช้ต้องพิจารณาว่า ขนาดหน้าจอใด ที่เหมาะสม ซึ่งมันจะส่งผลถึงขนาดแป้นพิมพ์หรือ keyboard ด้วย
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่ มีหลายขนาด ตั้งแต่ ประมาณ 10 นิ้ว ไปจนถึง 17 นิ้วเลยทีเดียว ซึ่งแต่ละขนาดก็ยังมีสัดส่วนของหน้าจอที่แตกต่างกันไปด้วย โดยส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะมีอัตราส่วนอยู่ที่  16 : 10 หรือ Wide screen บางแบรนด์ก็ 16:9 ที่เรียกว่า True Wide screen ส่วนอัตราส่วนมาตรฐานเดิมคือ 4: 3 ก็ยังมีให้เลือกอยู่บ้าง อนาคต True Wide screen จะเข้าแทนที่ สำหรับ เครื่องระดับประสิทธิภาพสูงๆเกือบทั้งหมด


Standard Screen Aspect Ratios


3.Memory
หรือ หน่วยความจำชั่วคราว หรือที่เรียกว่า Ram
ถือเป็นเรื่องสำคัญในเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ ด้วยตัวเครื่องถูกออกแบบมาในพื้นที่ ที่จำกัด บางแบบไม่สามารถ Upgrade เพิ่ม Ram ได้เลย ดังนั้นก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ ต้องดูว่า มี Ram ติดเครื่องมา มากน้อยเพียงใด สามารถเพิ่มได้อีกหรือไม่ โดยปกติ ควรมีไม่น้อยกว่า 2 GB





4.Optical Drive 
เป็นส่วนสำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นข้อมูลประเภท DVD หรือ CD-Rom นับเป็นปัจจัยสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ แม้ว่า ใน Netbook และ Ultrabook จะไม่ถือเป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่ต้องมีก็ตาม ซึ่งในปัจจุบันพบว่า ใน Notebook ระดับ Hi-end มีการใช้ Drive Blue-ray  เป็น Drive ใช้ในอ่านข้อมูลแทน

5.ส่วนเชื่อมต่อการแสดงผล
นับเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนของคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ เป็นส่วนเชื่อมต่อนำสัญญาณไปสู่อุปกรณ์ฉายภาพ ซึ่งนับเป็นส่วนสำคัญของการใช้งานปัจจุบัน  ซึ่ง port มาตรฐานที่ใช้ จะเป็น port ที่ใช้ต่อแบบ VGA (D-SUB :  DE-15) บางเครื่องก็จะมี port ทั้งแบบ S-video ซึ่งจะพบในเครื่องรุ่นเก่าๆ ส่วนในรุ่นใหม่ก็จะมี Port แบบ HDMI (ซึ่งในกรณีนี้ จะต้องมีหัวต่อที่เรียกว่า Adapter แปลงจาก HDMI มาเป็น VGA ด้วย) บ้างรุ่นก็มี port แบบ DVI


6.ส่วนเชื่อมต่อเครือข่าย
ปัจจัยส่วนนี้ ถือเป็นค่ามาตรฐานที่เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องมีอันได้แก่

Wireless
สำหรับเชื่อมเครือข่ายแบบไร้สาย รองรับ IEEE 802.11 B, G ดีที่สุดต้องเป็น IEEE 802.11 N

 BlueTooth
เป็นอีกเทคโนโลยีที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมต่างๆ  อาทิ โทรศัพท์มือถือ สำหรับโอนถ่ายข้อมูล

 7.ส่วนเชื่อมต่ออุปกรณ์ข้อมูลภายนอก
เป็นส่วนสำหรับใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นๆ


ช่องต่อ USB ที่ปัจจุบัน เป็นมาตรฐาน 2.0 และเทคโนโลยีใหม่ 3.0 นอกจากนี้
และ Reader Card สำหรับอ่าน memory card ประเภทต่างๆ จากโทรศัพท์มือถือ หรือกล้องดิจิตอล

8.กล้อง
หรือที่เรียกว่า Web Cam ก็เป็นอีกอุปกรณ์มาตรฐานที่ คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ทุกประเภทต้องมี


9.Battery
โดยเนื้อแท้แบตเตอรี่นับเป็นหัวใจสำคัญของคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่เลยทีเดียว แต่เนื่องจากปัจจัยต่างๆ อาทิส่วนประกอบของการทำงาน การขับเคลื่อนระบบบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ CPU Chipset จอแสดงผล รวมถึง Hard drive ที่ยังคงต้องการพลังงานค่อนข้างสูง ส่งผลให้แบตเตอรี่ยังคงอยู่ในภาวะของการแข่งขัน การพัฒนาเทคโนโลยีควบคู่ไปกับการพัฒนาการลดค่าปริมาณการใช้ไฟของอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ดังนั้นการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ หากท่านต้องการประสิทธิภาพสูงสุด ในภาวะการทำงานที่ยาวนาน อาจจะต้องสังเกตุที่จำนวน cell ของแบตเตอรี่กัน ค่ามาตรฐานที่ส่งผลให้เครื่องใช้งานไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง ส่วนใหญ่ จะมี 6 cell (netbook จะมี 3-4 cell ส่วน notebook ระดับ Hi-end มีทั้ง 8 หรือ 12cell) นอกจากนี้ ยังจะต้องสังเกตค่า .mAH อีกด้วย (ค่ายิ่งสูงยิ่งดี) สำหรับเรื่องของแบตเตอรี่ จะได้นำมากล่าวโดยละเอียดอีกครั้ง ในเร็ววันนี้



10.การรับประกันและบริการหลังการขาย
สิ่งสุดท้ายที่ขาดไม่ได้ก็คือ การรับประกัน ความน่าเชื่อถือของร้านค้าตัวแทนจำหน่าย และท่านควรลงทะเบียนผลิตภัณฑ์ออนไลน์ เพื่อรักษาสิทธิในการประกันและสนุบสนุนด้านต่างๆด้วย

ปัจจัยกลุ่มเสริม/สนับสนุน
ได้แก่ หน่วยเก็บข้อมูล, การ์ดจอ, แบตเตอรี่, Finger scan ระบบเสียง backlight  Modem

อีกปัจจัยซึ่งก็มีความสำคัญ แต่ถือเป็นส่วนพิจารณาในลำดับรองลงมา เริมที่
1. Hard Drive หรือหน่วยเก็บข้อมูล
บางคนอาจจะดูว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญในลำดับต้นๆ คนส่วนใหญ่ รวมถึงกลยุทธ์การขาย จะชูประเด็นขนาดความจุของ Hard drive หรือ harddisk แต่หากมองดูในภาพความเป็นจริงจะพบว่า ผู้ใช้ ไม่เคยใช้งาน เต็มพื้นที่ ทั้งหมดของ Harddisk เลย  ปัจจุบัน Ultrabook จะใช้ SSD ส่งผลให้การทำงานที่เร็วขึ้น(จริงๆ) แต่ ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาเครื่องสูงขึ้นมากตามไปด้วย (ศึกษาเพิ่มเติม)

2. Graphic
แม้ว่าจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ แต่ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ส่งผลให้คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ มีประสิทธิภาพในการแสดงผลที่มีคุณภาพสูง ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องใช้ส่วนประมวลผลทางภาพแยกต่างหากหรือที่เรียกกันในภาษาชาวบ้านว่า การ์ดจอแยก นอกจากเครื่องที่ต้องการประสิธิภาพในการแสดงผลสูงๆ อาทิ ใช้เล่นเกม ใช้ในการสร้างงานมัลติมีเดียต่างๆ (ซึ่งจะสังเกตุได้จากที่ตัวเครื่องจะติด sticker แสดง logo ของแบรนด์ผู้ผลิตกราฟิก อาทิ nvidia ATI เป็นต้น) แต่การมีการ์ดจอแยกออกไป ทำให้ต้องสิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้น หากเป็นการใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ จะทำให้ช่วงเวลาการทำงานด้วยแบตเตอรี่นั้น น้อยลง

3.Sound ระบบเสียง โดยแท้จริงแล้ว ระบบเสียงก็เหมือนกับเรื่องกราฟิก ที่ทุกเครื่องต้องมีองค์ประกอบนี้อยู่แล้ว เพียงแต่มิติ ความคมชัด ความไพเราะ รวมถึงระดับความดังนั้นจะมีไม่มาก แต่โดยภาพรวมก็ถือได้ว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับมาตรฐาน ระบบเสียงในคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ มีหลายแบรนด์ อาทิ SRS® ในเครื่องทั่วๆไป นอกจากเป็นเครื่องที่ถูกออกแบบมาเพื่อนำเสนอระบบเสียงโดยเฉพาะ เช่น Asus รุ่น UX31E ที่มีระบบเสียงอันทรงพลังอย่าง ASUS SonicMaster และลำโพง Bang & Olufsen ICEPower หรือ DTS Surround Sound ที่จะมีใช้ในแบรนด์ของ Asus ในปี 2012  หรือระบบ Beats Audio ของ HP  หรือ ระบบเสียง Klipsch ของ DELL เป็นต้น




4.Backlit keyboardเป็นอีกคุณลักษณะพิเศษหรือส่วนเสริม ซึ่งจะช่วยให้แป้นพิมพ์มีแสงสว่างสามารถพิมพ์หรือใช้งานในที่มีแสงสว่างน้อยหรือที่มืดได้ดี  ซึ่งปัจจุบันจะพบในเครื่องประเภท Ultrabook





5.FingerPrint
 เป็นคุณลักษณะอีกประการ ในการแสดงสิทธิเจ้าของผู้ใช้งานด้วยวิธีการ Logon เข้าคอมพิวเตอร์ผ่านทางลายนิ้วมือ







ตารางเปรียบเที่ยบคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ ในภาพรวม
Notebook Netbook Ultrabook
Cost
10,000-90,000 บ
ประมาณ 10,000 บ
30,000-60,000 บ
CPU
CPU มีหลายขนาด ทำให้ notebook แบ่งกลุ่มการใช้งานเป็น 3 ระดับ
CPU ขนาดเล็กกินไฟต่ำ การประมวลผลสูงทำได้ไม่ดี
CPU ประสิทธิภาพสูง แต่ก็ใช้พลังงานต่ำ
Graphic
Chipset และแบบแยก
Chipset / CPU
Buid-in CPU
Keyboard Size
แป้นพิมพ์ขนาดมาตรฐาน บางรุ่นจะมีชุดพิมพ์ตัวเลขเหมือนแป้นพิมพ์เครื่องตั้งโต๊ะ
แป้นพิมพ์จะมีขนาดเล็กกว่าปกติ
แป้นพิมพ์ขนาดมาตรฐาน
Screen Size
10 -17 นิ้ว
10-12 นิ้ว
13 - 15 นิ้ว
Hard Drive
HDD500GB- 1.5 TB
HDD 320-500 GB
SSD 128/256GB
Memory
2-8 GB
1-2 GB
4 GB
Optical Drive
มี
ไม่มี
ไม่มี
Connection
USB 2.0 และ 3.0, Lan, Bluetooth,Wifi
USB 2.0 และ 3.0, Lan, Bluetooth,Wifi
USB 2.0 และ 3.0, Lan, Bluetooth,Wifi
Battery
ประมาณ 2 ชม.
ประมาณ 4 ชม.
ไม่ต่ำกว่า 5 ชม.
Weight
2-5กิโลกรัม 
1-1.5 กิโลกรัม 
1.3 - 1.5 กิโลกรัม 
Readmore...

สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ

ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
mediathailand
สุวัฒน์ ธรรมสุนทร
ข้าราชการบำนาญ สำนักงาน กศน.




ข้อเสนอแนะจากเพื่อนสมาชิก Facebook