Thursday, May 15, 2014

เลือกซื้อ set top box ได้ media Player box ด้วย

0 comments
 


Media Player Box คืออะไร นักดูหนังภายในบ้านคงรู้จักกันดี ซึ่งเจ้า Media Player Box ถือเป็นสื่อ หรืออุปกรณ์มัลติมีเดียที่ให้ความเพลิดเพลินด้านดิจิตอลเชื่อมต่อเข้ากับโทรทัศน์ รองรับไฟล์ต่างๆไม่ว่าจะเป็น Mpeg1, Mpeg2, Mpeg4, AVI , Divx 3.11, 4x,5x , Xvid, หนัง DVD ( IFO , VOB) , VCD (.dat), jpg, bmp, gif, mp3 

ซึ่งปัจจุบัน Media Player Box  มีหลากหลายยี่ห้อ หลากหลายราคา มีทั้งแบบเฉพาะตัวกล่องถอดรหัสสัญญาณที่ไม่มี Harddisk กับแบบที่มี Harddisk เก็บข้อมูลไฟล์ดิจิตอลในตัว ราคาต่ำสุดที่ไม่มี harddisk ก็ ร่วม 2,000 บาท แต่การมาของ set top box นับเป็นอีกปรากฏการณ์ในอนาคตที่จะทำให้ Media Player Box ต้องพบกับปัญหาแน่นอน เพราะ  set top box ทุกรายในราคาประมาณ พันกว่าบาท นอกจากจะรับรายการทีวีดิจิตอลแล้ว ยังพ่วงด้วยความสามารถในการเล่นไฟล์มัลติมีเดียระดับ HD ได้เช่นเดียวกับ Media Player Box ราคา 2,000 กว่าบาทด้วย คุณสมบัติ จุดเชื่อมสัญญาณออกแบบ HDMI ยังมีช่องเชื่อมต่อสัญญาณเข้าจากแหล่งภายนอกแบบ USB ซึ่งแน่นอนว่า หากท่านมีแหล่งเก็บไฟล์มัลติมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น Harddisk external หรือ Flash drive ก็แน่ใจได้เลยว่า ท่านสามารถเล่นไฟล์ดิจิตอลนั้นในแบบ media player box ได้อย่างสมบูรณ์

Readmore...

พื้นที่และแผนการกระจายสัญญาณทีวีดิจิตอล

0 comments
 
แผนการกระจายสัญญาณระบบทีวีดิจิตอล
 
 
หลังจากที่การประมูลขอรับใบอนุญาตการส่งสัญญาณทีวีระบบดิจิตอลผ่านพ้นไปแล้ว ก็เริ่มมีการทดลองออกอากาศทีวีระบบดิจิตอลกัน ซึ่งในตลอดปี 2557 ผู้ได้รับสัมปทาน ก็ดำเนินการส่งสัญญาณรวม 48 ช่อง โดยจะเริ่มจากในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลก่อน โดยมีการส่งสัญญาณในระบบดิจิตอลมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว  4 ราย 4 ช่อง ที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. คือ ไทยพีบีเอส กรมประชาสัมพันธ์ กองทัพบก และ อสมท.ส่วนรายอื่นจะดำเนินการไปตามข้อ กำหนดของ กสทช. ครอบคลุมทั่วประเทศจะมีแผนดังนี้ คือ
 
 

ปีที่ 1 พื้นที่กระจายสัญญาณครอบคลุม 50%
ปีที่ 2 พื้นที่กระจายสัญญาณครอบคลุม 80%
ปีที่ 3 พื้นที่กระจายสัญญาณครอบคลุม 90%
ปีที่ 4 พื้นที่กระจายสัญญาณครอบคลุม 95%

โดยประมาณการว่าจำนวนครัวเรือนไทยทั้งหมดมีอยู่ด้วยกัน 22 ล้านครัวเรือน โดยมีแผนกำหนดพื้นที่การแพร่สัญญาณเป็นไปตามกำหนดในแต่ละช่วงเดือน รายจังหวัดตามตารางด้านล่าง
 

สำหรับช่องสัญญาณทั้ง  48 ช่องนี้ ยังถูกกำหนดรูปแบบตามสัดส่วน หรือ รูปแบบของช่อง คือ

ช่องรายการทีวีดิจิตอล หมวดสาธารณะ 12 ช่อง

                 ออกอากาศทางช่อง 1-12 เช่น ช่อง 5, NBT, TPBS ฯลฯ
          

ช่องธุรกิจ 24 ช่อง ประกอบด้วย

ช่องเด็ก เยาวชน และครอบครัว 3 ช่อง คือ
                ช่อง 13 - BEC (ช่อง 3)
                 ช่อง 14 - MCOT
                 ช่อง 15 - TV Pool
ช่องข่าวสารและสาระ 7 ช่อง คือ
                ช่อง 16 - TNN
                 ช่อง 17 - TVPool
                 ช่อง 18 - Dailynews
                 ช่อง 19 - Spring News
                 ช่อง 20 - สามเอ (Bright TV)
                 ช่อง 21 - Voice TV
                 ช่อง 22 - Nation
ช่องวาไรตี้ ความคมชัดระดับปกติ (SD) 7 ช่อง คือ
                ช่อง 23 - Workpoint
                 ช่อง 24 - True
                 ช่อง 25 - GMM
                 ช่อง 26 - กรุงเทพธุรกิจทีวี (เครือ Nation)
                 ช่อง 27 - RS
                 ช่อง 28 - BEC
                 ช่อง 29 - MONO
ช่องวาไรตี้ ความคมชัดสูง (HD) 7 ช่อง คือ
                ช่อง 30 - MCOT
                 ช่อง 31 - GMM
                 ช่อง 32 - ไทยรัฐ
                ช่อง 33 - BEC (ช่อง 3)
                 ช่อง 34 - AMRIN
                 ช่อง 35 - ช่อง 7
                 ช่อง 36 - PPTV
ช่องบริการชุมชน 12 ช่อง
           คือช่องเคเบิ้ลทีวีท้องถิ่น หรือช่องรายการทีวีดาวเทียมท้องถิ่น ซึ่งแต่ละจังหวัดจะรับชมได้ในรายการที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับพื้นที่นั้น ๆ
Readmore...
Friday, May 9, 2014

วิทยุ-โทรทัศน์ดิจิตอลคืออะไร

0 comments
 
วิทยุ-โทรทัศน์ดิจิตอล (Digital Broadcasting) หมายถึง การส่งผ่านภาพและเสียงโดยสัญญาณดิจิตอลที่มีประสิทธิภาพสูง ภาพและเสียงคมชัด สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าแบบอนาล็อกในหนึ่งช่องสัญญาณ และทำให้ได้คุณภาพของภาพและเสียงดีกว่าด้วย



การเปลี่ยนระบบจากอนาล็อกเป็นดิจิตอล เป็นกระแสของโลก ทั้งในกิจการวิทยุ-โทรทัศน์ต่างๆ ดังนี้
1.ระบบแพร่ภาพดิจิตอลผ่านดาวเทียม (The Digital Video Broadcasting - Satellite System) หรือ DVB-S
2.ระบบแพร่ภาพดิจิตอลผ่านสายเคเบิ้ล (The Digital Video Broadcasting - Cable System) หรือ DVB-C
3.ระบบแพร่ภาพดิจิตอลภาคพื้นดิน (The Digital Video Broadcasting - Terrestrial System) หรือ DVB-T
จุดใหญ่ที่จะทำให้ดิจิตอลทีวีต่างจากอนาล็อกทีวีมากคือเทคนิคในด้านนี้ ซึ่งเราเองก็จะเริ่มเห็นจากตัวอย่างของระบบโทรศัพท์ที่เปลี่ยนจากอนาล็อกมาเป็นดิจิตอล ในทำนองคล้ายกัน โทรทัศน์ดิจิตอลจะกลายเป็นสื่อผสมชนิดหนึ่ง (Multimedia) โดยเป็นสื่อผสมที่มีความเร็วสูงสุด สื่อผสมในที่นี้จะประกอบด้วยภาพ เสียงและข้อมูลภาพที่เราจะได้จาก ดิจิตอลทีวีก็จะขึ้นเป็นระดับความคมชัดสูง (HDTV) ภาพที่รับชมก็สามารถโต้ตอบ (Interactive) ได้

ประเทศไทยจะมีทีวีดิจิตอล ซึ่งเป็นช่องฟรีทีวี หรือที่ประชาชนสามารถรับชมได้เป็นการทั่วไป จำนวน 48 ช่อง เริ่มออกอากาศ ตั้งแต่กลางปี 2557 และจะยกเลิกระบบทีวีอะนาล็อกภายในปี 2559   สำหรับมาตรฐานของทีวีดิจิตอลแล้ว กสทช.ได้เลือกใช้ระบบส่งสัญญาณแบบ DVB-T2 : Digital Video Broadcasting-Second Generation Terrestrial) ซึ่งเป็นมาตรฐานยุโรป และเป็นระบบที่ใหม่และมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อเทียบกับระบบอื่นๆ อีกทั้งยังเป็นระบบที่ประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่ก็เลือกใช้เช่นกัน

อ้างอิง : http://bcp.nbtc.go.th/knowledge/detail/369
Readmore...

กล่องแปลงสัญญาณ (Set-top Box) คืออะไร

0 comments
 
เครื่องรับโทรทัศน์รุ่นใหม่จอแบนส่วนใหญ่เป็นเครื่องรับโทรทัศน์ที่สามารถรับชมรายการที่ส่งมาเป็นระบบดิจิตอลได้ แต่ถ้าเป็นเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นเก่า ลักษณะกล่องสี่เหลี่ยม จอใหญ่ๆ  ก็จะต้องมีอุปกรณ์เสริม เพื่อให้สามารถรับสัญญาณดิจิตอลที่จะทำการออกอากาศในระบบใหม่ ซึ่งก็คือกล่องแปลงสัญญาณดิจิตอล ให้มีสัญญาณที่ทีวีแบบดั้งเดิมสามารถรับสัญญาณ เข้าสู่ระบบของภาพและเสียงทีสามารถรับชมได้


กล่องแปลงสัญญาณนี้ เรียกว่า Set-top box คือ กล่องที่สามารถวางไว้บนจอใหญ่ๆ ของเราได้ เหมือนกับกล่องที่มาเวลาเราติดตั้งจานดาวเทียม หรือเคเบิลทีวี เพราะฉะนั้น เวลาเปลี่ยนไปสู่ทีวีดิจิตอล ถ้าซื้อกล่องนี้แล้วก็ไม่จำเป็นต้องซื้อจอทีวีใหม่ ให้ติดตั้งเครื่องนี้ แล้วก็สามารถรับชมได้ตามปกติ
สำหรับผู้บริโภค เราต้องซื้อกล่องดำๆ ต่อกับเครื่องเก่า หรือซื้อเครื่องใหม่ ซึ่งเป็นต้นทุนเพิ่มเติมของผู้บริโภค และต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร กว่าที่คนไทยทุกคนจะมี Set-top box หรือเครื่องรับทีวีดิจิตอลได้ครอบคลุมทั่วประเทศ


อ้างอิง : http://bcp.nbtc.go.th/knowledge/detail/376
Readmore...

เตรียมตัวอย่างไรเพื่อรองรับทีวีดิจิตอล

0 comments
 
มีคำถามมากมายว่า ทีวีดิจิตอล คืออะไร ดีอย่างไร จะรับชมได้ไหม ดูได้ทั่วประเทศไหม และอีกหลายคำถาม หมวดทีวีดิจิตอล จึงจัดทำขึ้นเพื่อให้สมาชิกผู้สนใจ ได้รับรู้ และเตรียมความพร้อม ก้าวไปสู่การรับชมความคมชัดของสัญญาณทีวีระบบใหม่กัน


เตรียมตัวอย่างไรเพื่อรองรับทีวีดิจิตอล
1. ถ้าท่านใช้ โทรทัศน์ระบบแอนะล็อก หรือโทรทัศน์ที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ Smart TV หรือ โทรทัศน์จอแบนต่างๆ ล้วนเป็นโทรทัศน์รุ่นเก่าระบบแอนะล็อคท่านไม่ต้องเปลี่ยนโทรทัศน์ใหม่ ท่านสามารถรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลได้ง่ายๆเพียงนำโทรทัศน์เครื่องเดิมที่ใช้อยู่เชื่อมต่อกับ Set Top Box (STB) หรือกล่องแปลงสัญญาณ กล่องตัวนี้จะช่วยเปลี่ยนสัญญาณจากระบบแอนะล็อคเป็นระบบดิจิตอลโดยท่านไม่ต้องซื้อโทรทัศน์เครื่องใหม่  โดยมีหนวดกุ้งหรือเสาก้างปลาเป็นตัวรับสัญญาณ


 2. ถ้าท่านต้องการซื้อโทรทัศน์เครื่องใหม่ เป็นโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอล ซึ่งเป็นโทรทัศน์ที่มีดิจิตอลจูนเนอร์ในตัวรับสัญญาณ (integrated  Digital Television หรือ iDTV) สังเกตุได้จากจะมี โลโก้ น้องหนูดูดี ซึ่งสามารถรับสัญญาณดิจิตอลได้โดยไม่ต้องใช้กล่องแปลงสัญญาณหรือ Set Top Box  เพียงท่านต่อโทรทัศน์ iDTVกับเสาก้างปลาหรือหนวดกุ้ง ท่านสามารถรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลได้แล้ว ซึ่งวิธีนี้ผู้รับชมจะสามารถรับชมจำนวนช่องได้ทั้งหมด 48 ช่องพร้อมกับคุณภาพความคมชัดปกติ SD (Standard Definition) และความคมชัดสูง HD (High Definition)



3. ถ้าท่านรับชมโทรทัศน์ด้วยจานดาวเทียมหรือผ่านเคเบิ้ล ท่านสามารถรับชมรายการได้ทั้งหมด 36 ช่อง ซึ่งไม่รวมช่องบริการชุมชนทั้ง 12 ช่อง เนื่องจากช่องบริการชุมชนจะให้บริการแปรผันไปตามภูมิภาคที่รับชม ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ซึ่งระบบจานดาวเทียมและเคเบิ้ลทีวีไม่สามารถดึงสัญญาณภาพไปให้บริการได้ แต่คุณภาพความคมชัดอาจจะไม่เท่ากับการต่อสัญญาณผ่านเครื่องแปลงสัญญาณหรือ Set Top Box (STB)   
เพียงเท่านี้ ท่านก็สามารถรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอลได้แล้ว



หากมีปัญหาหรือสงสัยเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่เบอร์ 1200 ต่อกลุ่มงานขับเคลื่อนกิจการโทรทัศน์และวิทยุในระบบดิจิตอล

อ้างอิงข้อมูลจาก





http://digital.nbtc.go.th/index.php/2013-07-04-05-03-24
Readmore...

ทีวีดิจิตอล คืออะไร

0 comments
 
ทีวีดิจิตอล คืออะไร
มีคำถามมากมายว่า ทีวีดิจิตอล คืออะไร ดีอย่างไร จะรับชมได้ไหม ดูได้ทั่วประเทศไหม และอีกหลายคำถาม หมวดทีวีดิจิตอล จึงจัดทำขึ้นเพื่อให้สมาชิกผู้สนใจ ได้รับรู้ และเตรียมความพร้อม ก้าวไปสู่การรับชมความคมชัดของสัญญาณทีวีระบบใหม่กัน


ดิจิตอลทีวี คือระบบการส่งสัญญาณแบบใหม่ที่ใช้ระบบดิจิตอล ในการส่งสัญญาณภาพและเสียง จากเสาส่งของสถานีออกอากาศ ไปยังโทรทัศน์ของผู้รับบริการที่มีความคมชัดของภาพและเสียงสูงกว่าระบบอนาล็อก(แบบเดิม) ปราศจากสัญญาณรบกวน


ปี 2557 เป็นจุดเริ่มต้นที่ ประเทศไทยจะเปลี่ยนระบบโทรทัศน์ในระบบอนาล็อก(Analog)แบบเดิม ไปสู่ระบบดิจิตอล(Digital) หรือที่เรียกว่า ทีวีดิจิตอลหรือโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (Digital television)  การเปลี่ยนระบบครั้งนี้ถึงแม้เป็นไปตามพัฒนาการของโลก โดยสหภาพโทรคมนาคม (International Telecommunication Union-ITU) ได้เสนอให้ประเทศต่างๆเปลี่ยนการออกอากาศในระบบอนาล็อกมาเป็นระบบดิจิตอลในปี พ.ศ. 2558 สอดคล้องกับที่ประชุมร่วมรัฐมนตรีไอซีทีอาเซียน  (The 10th ASEAN Telecommunications and IT Ministers’ Meeting : 10th TELMIN) ครั้งที่ 10 ที่ได้ร่วมกันวางกรอบเวลาการเลิกออกอากาศทีวีในระบบดิจิตอลให้มีในระหว่างปี 2558-2563



การพัฒนาเทคโนโลยีโทรทัศน์ในระบบ Digital ถือได้ว่าเป็นวิวัฒนาการของกิจการโทรทัศน์อีกครั้งที่สําคัญของประเทศไทย  เพราะเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพของระบบการส่งสัญญาณ รวมถึงการใช้ทรัพยากรคลื่นความถี่ให้มีประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุด จาดช่วงความถี่เดิมที่ทำการกระจายสัญญาณโทรทัศน์ระบบอนาล็อกแบบเดิมจากช่องรายการเพียงช่องเดียว แต่เมื่อใช้เทคโนโลยีระบบ Digital จะสามารถออกอากาศได้มากถึง 8-25 ช่องรายการด้วยคุณภาพทั้งภาพและเสียงที่ดีกว่าเดิมมากมาย  การที่มีช่องรายการมากขึ้นทำให้เกิดการแข่งขัน ส่งผลให้รายการ สาระเนื้อหา มีคุณภาพ และมาตรฐานสูงสุด ประชาชนผู้รับบริการ จะมีโอกาส เลือก ในการเข้าถึงรายการ สาระ ข้อมูลข่าวสารและบริการที่มีความหลากหลายและมีคุณภาพอย่างจริงจัง ในอีกไม่นานนี้
Readmore...
Tuesday, May 6, 2014

เทคโนโลยีของระบบโทรศัพท์

0 comments
 
 
ความเร็วของแต่ละยุค หน่วยเป็น กิโลบิตต่อวินาที (kbps)
1G : 2.4 kpps สื่อสารด้วยเสียงเท่านั้น ยังเป็นระบบอะนาลอก
2G : 64 kbps สื่อสารด้วยเสียงได้ชัดเจนขึ้น ให้สัญญาณครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และเป็นยุคแรกของการใช้มาตรฐานดิจิตอลในระบบ GSM และ CDMA
3G : 2000 kbps สื่อสารได้ทั้งเสียงและข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อความ, มัลติมีเดีย และอินเทอร์เน็ต ถือเป็นยุคแรกของการเป็นโมบายบรอดแบนด์
4G : 100,000 kbps สื่อสารกันด้วยข้อมูลเป็นหลักหรือว่าง่ายๆ คือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแทนการสื่อสารด้วยเสียง ใช้โปรโตคอลมาตรฐานการสื่อสารแบบ LTE และเป็นโมบายบรอดแบนด์อย่างแท้จริง
..........................................................................
เทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบันได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การเข้าถึงข้อมูล การติดต่อสื่อสารทำได้รวดเร็ว มีความคงที่ของสัญญาณ ที่รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม จากโทรศัพท์ไร้สายพื้นฐาน ในยุด 1 G  มาถึงเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายล่าสุดอย่าง 4G LTE ผ่านกระบวนการพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง เรามาทำความเข้าใจของเทคโนโลยีดังกล่าวในแต่ละ Generation กันว่ามีพัฒนาการมาอย่างไร



1 Generation : 1G
เป็นยุคแรกของการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ยุคนั้นถือได้ว่าเป็นโทรศัพท์ที่มีราคาแพง มีน้ำหนักมาก เหมาะสมกับคำว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่มากๆ การเชื่อมต่อสัญญาณในยุคแรก จะอยู่ในรูปแบบ Analog ที่สามารถส่งสัญญาณในรูปแบบเสียงได้อย่างเดียว การรับส่งสัญญาณจะต้องส่งไปยังสถานีฐาน (Based-station) ซึ่งสัญญาณต้องแรงพอที่จะส่งไปยังเครื่องปลายทางได้ ระบบรับส่งต้องใช้ทรานซิสเตอร์ภาครับและขยายกำลังสูง ที่สำคัญต่องใช้แรงไฟที่สูงตาม แบตเตอรี่ที่ใช้จึงมีขนาดใหญ่และหนัก ส่งผลให้มีความร้อนสูงตามไปด้วย จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้โทรศัพท์ในยุคนั้นมีขนาดใหญ่มาก

ซึ่งสัญญาณ.......................................................................................................................

2 Generation : 2G
ในช่วงยุคที่ 2 เป็นยุคที่มีการพัฒนาใช้สัญญาณ Digital มาแทน Analog แบบเดิม ยุคนี้ ถือได้ว่า เป็นช่วงระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควร บังเกิด เทคโนโลยีย่อยๆ มากมาย ลเข้ามาสามยุคนี้เป็นช่วงที่ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานพอสมควรและคนที่ใช้โทรศัพท์ในไทยมักจะคุ้นเคยที่สุด เพราะเป็นยุคที่มีการพัฒนาการติดต่อสื่อสารโดยใช้สัญญาณแบบดิจิตอลแทน ซึ่งทำให้สามารถส่งข้อมูลหรือ Data ได้เพิ่มขึ้น  โดยถ้าจะให้ไล่เรียงกันทั้งสามยุคนั่นก็คือ



2G คือการใช้ระบบ GSM สามารถโทรหากันข้ามเครือข่ายได้จากที่ไม่สามารถทำได้ในยุค 1G และเป็นยุคที่สามารถส่งข้อความ SMS หรือ Short Message Service ได้
2.5G เป็นการต่อยอดในการส่งข้อมูลให้ดีขึ้นด้วยบริการรับส่งข้อมูลที่เรียกว่า GPRS (General Packet Radio Service)
สุดท้ายยุค 2.75G เป็นการพัฒนาการส่งสัญญาณให้ดีขึ้น, เร็วขึ้นและได้ปริมาณที่มากขึ้นซึ่งนั่นก็คือ EDGE (Enhanced Data rates for GSM Evolution)
โดยทั้งสามยุคนี้ คนหันมาใช้บริการข้อมูลกันเพิ่มมากขึ้นและเป็นยุคที่มีอุปกรณ์ออกมารองรับการใช้งานข้อมูลเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน

3 Generation : 3G
จะบอกว่าตอนนี้คนไทยอยู่ในยุคนี้ก็คงจะใช่หล่ะนะครับ เพราะส่วนใหญ่แล้วตอนนี้เราใช้โทรศัพท์ที่ส่วนใหญ่เป็นสมาร์ทโฟนเกือบทั้งหมด หันมาใช้บริการข้อมูลมากการใช้บริการเสียงจากผู้ให้บริการโทรศัพท์เสียอีก ซึ่งยุคแห่งการใช้ข้อมูลนี้ความเร็วจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเลยเกิดยุคของโทรศัพท์ยุคที่ 3 หรือ 3G ขึ้นมานั่นเอง โดยจะใช้เทคโนโลยีที่ชื่อว่า UTMS (Universal Mobile Telecommunications System) เป็นแกนหลัก
อันที่จริงแล้วยุค 3G ก็ไม่ต่างกับ 2G ที่มีอยู่ 3 ช่วงเหมือนกันนั่นคือ ในยุคแรกความเร็วในการรับข้อมูลสูงสุดจะอยู่ที่ 2 Mbps และต่อมาก็เริ่มมีการพัฒนาความเร็วจนปัจจุบันนี้เราอยู่ในยุคที่เป็น 3.5G และ 3.75G (ขึ้นอยู่กับพื้นที่) มีความเร็วในการรับข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ 21-42 Mbps โดยความเร็วนั้นจะขึ้นอยู่กับสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์รับสัญญาณและความหนาแน่นในการใช้งานของพื้นที่นั้นๆ ด้วย และสามารถสังเกตง่ายๆ ว่าตอนนี้เราใช้ระบบ 3G แบบใดบนโทรศัพท์ โดยดูที่สัญลักษณ์สัญญาณข้อมูลว่าเป็น 3G, H หรือ H+

4 Generation : 34
ยุค 4G LTE ยุคแห่งการบริโภคข้อมูลด้วยความเร็วแบบสุดๆ
อย่างที่บอกไปในตอนแรกแล้วว่าชื่อ 4G นั้นถูกเรียกให้เก๋ๆ โดยอันที่จริงแล้วนั้นมันคือยุคของ 3.9G โดยยุคนี้จะเป็นอีกขั้นของการใช้งานข้อมูลโดยจะให้ความสำคัญกับความเร็วเป็นสำคัญ ซึ่งความเร็วที่ 4G LTE จะสามารถทำได้สูงสุดนั้น มีการรับข้อมูลได้ถึง่ 100Mbps และส่งข้อมูลอยู่ที่ 50Mbps โดยมีการเปรียบเทียบกับเทคโนโลยี 3G ว่ามี 4G LTE นั้นความเร็วมากกว่าถึง 7 เท่า


ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ใช้งานสมาร์ทโฟน Android, iOS หรือ Windows Phone ก็ตาม มีสิ่งหนึ่งที่คุณเห็นแบบเดียวกันที่มุมขวาบนของหน้าจอ คือตัวอักษรภาษาอังกฤษ ซึ่งบางครั้งก็ขึ้นเป็นตัว E บางครั้งเป็น 3G บางครั้งก็ขึ้นเป็นตัว H
ตัวอักษรเหล่านั้นไม่ได้เป็นเพียงตัวอักษรธรรมดา โดยแต่ละตัวสามารถบอกได้ว่าเครือข่ายไร้สายที่คุณกำลังเชื่อมต่ออยู่ในขณะนั้นเป็นชนิดใด ซึ่งแต่ละแบบมีความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่แตกต่างกันมาก มาดูกันว่ามีสัญลักษณ์แต่ละตัวหมายถึงอะไร

"LTE" - Long Term Evolution (4G)
เมื่อขึ้นสัญลักษณ์ LTE หมายถึงในขณะนั้นผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงในระดับ 4G ซึ่งในทางทฤษฎีมีความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุดถึง 100Mb/s การเชื่อมต่อ 4G LTE ช่วยให้สามารถดาวน์โหลดวิดีโอสตรีมมิ่งที่มีความละเอียดสูงระดับ HD ได้อย่างรวดเร็ว แต่ 4G LTE ในประเทศไทยล่าสุด (เมษายน 2014) มีผู้ให้บริการเครือข่ายเพียงบางเจ้าเท่านั้นที่พร้อมให้บริการและยังมีพื้นที่ใช้งาน 4G LTE บางแห่งเท่านั้นในกรุงเทพฯ

"H+" - HSDPA Plus
HSDPA Plus เป็นเครือข่ายไร้สาย 3G ที่มีความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุด 21Mb/s สัญลักษณ์ดังกล่าวจะปรากฏอยู่ในสมาร์ทโฟนหลายๆ รุ่นที่รองรับเทคโนโลยีการเชื่อมต่อไร้สาย 3G HSDPA+ (ยกเว้นในสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์เวอร์ชั่น 4.4 KitKat จะแสดงเพียงสัญลักษณ์ "H" เท่านั้น แต่ถ้ารองรับ HSDPA+ และอยู่ในพื้นที่ที่สัญญาณไปถึงก็ใช้งานได้ตามปกติ)

"H" - HSDPA (High Speed Downlink Packet Access)
HSDPA เป็นเครือข่ายไร้สาย 3G รุ่นก่อนหน้าของ HSDPA+ โดยมีความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลสูงสุด 7.2Mb/s ซึ่ง HSDPA ถูกนำไปใช้เป็นมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับการดาวน์โหลดวิดีโอสตรีมมิ่งความละเอียดสูงระดับ HD แต่อย่างไรก็ตามที่ความเร็วระดับนี้สามารถท่องเว็บไซต์และฟังเพลงสตรีมมิ่งได้เป็นอย่างดี

"3G" 3rd Generation (บางครั้งเรียกว่า UMTS)
3G เป็นเครือข่ายไร้สาย 3G ที่มีความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูล 2Mb/s ซึ่งเป็นความเร็วที่เพียงพอสำหรับใช้งานวิดีโอคอลล์ และเป็นความเร็วที่ยังสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตและอีเมล์ได้

"E" - EDGE (Enhanced Data Rates for GSM Evolution)
EDGE คือเครือข่ายไร้สาย 2.75G ซึ่งมีความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลสุดสุด 384 kb/s มีความเร็วน้อยกว่า 3G และยังอยู่ในโครงข่าย GSM (2G) ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายในยุคแรกๆ ที่มือถือสามารถใช้งาน Mobile Internet ได้ ปัจจุบัน EDGE ก็ยังเปิดใช้งานอยู่ในพื้นที่ที่สัญญาณ 3G ส่งไปไม่ถึงหรือติดเงื่อนไข-ข้อจำกัดของผู้ให้บริการ

"G" - GPRS (General Packet Radio Service)
GPRS เป็นเครือข่ายไร้สาย 2.5G ที่มีความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลสูงสุด 115kb/s ซึ่งเพียงพอสำหรับการดาวน์โหลดหน้าเว็บไซต์ที่ไม่มีรายละเอียดเยอะมากนัก เช่น ตารางเวลาการเดินรถไฟ (การดาวน์โหลดผ่าน GPRS จะค่อนข้างช้าและใช้เวลานาน) GPRS ถือเป็นเครือข่ายไร้สายที่ให้บริการด้านข้อมูล (Mobile Internet) ที่เก่าแก่ที่สุด



ในปี 2013 ที่ผ่านมา มีผู้ใช้ Smartphone มากถึง 1 ใน 3 เมื่อเทียบกับผู้ใช้โทรศัพทืมือถือแบบธรรมดาหรือ ฟีเจอร์โฟนทั่วไป คาดว่าในปี 2017 จะมีผู้ใช้สมาร์ทโฟนเป็น 1 ใน 2 เมื่อเทียบกับผู้ใช้ฟีเจอร์โฟนทั่วไป และมีเปอร์เซ็นต์การเข้าถึงข้อมูลต่างๆบนเว็บผ่าน Smartphone เพิ่มขึ้นถึง 8.3%


19% : ประสิทธิภาพของเครือข่ายเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
16% : ความคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป
10% : ติดต่อสื่อสารได้ระหว่างที่กำลังเดินทาง
10% : ข้อเสนอในส่วนของค่าทำเนียมหรือค่าบริการต่างๆ
10% : การบริการลูกค้า



LTE  เป็นหนึ่งมาตรฐานจากกลุ่ม Third Generation Partner Ship Project (3GPP) ที่มุ่งเป้าในเรื่องของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง บนระบบ Mobile ไปสู่ระบบ Mobile ยุคต่อไปที่อาจจะเรียกว่าเป็นยุค 4 (4G ) ซึ่งสถาปัตยกรรมแนวคิดการพัฒนานั้น LTE น่าจะเป็นการต่อยอดจากเทคโนโลยี 3G  ทางเทคนิคนั้น LTE ถูกสร้างอยู่บนพื้นฐานของ GSM, GPRS,EDGE และ WCDMA รวมถึง HSPA อีกด้วย ปัจจัยหลักของ  LTE คือการเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูล การดาวน์โหลดและ อัพโหลด (Download/Upload) และลดค่า Latency หรือ ค่าความหน่วงเวลา ตัวนี้จะเป็นความเร็ว จริงๆที่ใช้รับส่งข้อมูล ทำให้ไม่เกิดความล่าช้า หรือ หน่วงเวลามากนักเข้า Concept ของการบริการ แบบ Delay Sensitive Servicesทำให้ผู้ใช้บริการจะได้บริการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
LTE จะสร้างปรากฏการณ์ Real-Time, VoIP, VDO Conference คุณภาพสูงผ่านช่องความถี่ 20 MHz ประกอบกับการดาว์นโหลดที่มีความเร็วสูงถึง 100 Mbps(สูงสุดที่ 300Mbps) และอัพโหลดที่ได้มากถึง 50Mbps(สูงสุดที่ 75Mbps) และปิงต่ำกว่า 10 มิลลิวินาที โดยมีแบนด์วิทธ์อยู่ในช่วงระหว่างช่วง 1.4 เมกกะเฮิร์ตถึง 20 เมกกระเฮิร์ต  ที่สำคัญ LTE ใช้เครื่อข่ายรูปแบบ all-IP Core




ประโยชน์ของการใช้ 4G
ด้วยความเร็วของ 4G Network ที่มีประสิทธิภาพด้านความเร็วสูง (>100 Mbps) การให้บริการ 4G ผ่าน Wi-Fi Adapter จะทำให้เพิ่มโอกาสในการเข้าถึง Internet ได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพียงมี Aircard 4G และ Wifi Adapter เมื่อเชื่อมต่อแล้ว สามารถแชร์สัญญาณ 4G เพื่อให้ใช้พร้อมกัน กับอุปกรณ์ที่รองรับสัญญาณ Wi-Fiได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เสมือนกับถนนที่มีขนาดใหญ่ยิ่งขึ้น ก็สามารถที่จะรองรับรถได้มากขึ้นและวิ่งเร็วได้มากขึ้นด้วย
สรุปการทำงานระบบ LTE  สู่ 4G
1.พื้นฐานแนวคิดการพัฒนานั้น LTE เป็นการพัฒนาต่อยอดจากเทคโนโลยี 3G ไปสู่เทคโนโลยี 4G เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานให้ดีขึ้น
2.ในการทำงานระบบ 4G สามารถผ่านประชุมทางไกลคุยแบบโต้ตอบได้ทันที ไม่เหมือน 3G ที่จะมีอาการดีเลย์ แถม 4Gยังได้ภาพคมชัดแบบ HD กว่า 3G ด้วย ( 3G เปรียบดั่งเคเบิ้ลทีวีดาวเทียม ที่ภาพออนแอร์มาจะช้ากว่า 4G ที่คุยกับคนอื่นได้อย่างตาเห็น ถามไปตอบกลับได้ทันทีไม่ต้องรอ แม้จะอยู่ต่างประเทศห่างไกลมากๆก็ตาม )
3. ข้อดีด้วยความเร็วของ 4G ที่เร็วแรงกว่า 3G นี้ การให้บริการ 4G ผ่าน Wifi Adaptor จะทำให้เพิ่มโอกาสในการเข้าถึง Internet ได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพียงมี Aircard 4G และ Wifi Adaptor เมื่อเชื่อมต่อแล้ว สามารถแชร์สัญญาณ 4G เพื่อให้ใช้พร้อมกันกับอุปกรณ์ที่รองรับสัญญาณ Wifi ได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เสมือนกับถนนที่มีขนาดใหญ่ยิ่งขึ้น ก็สามารถที่จะรองรับรถได้มากขึ้น และวิ่งเร็วได้มากขึ้นด้วย
4. ความสามารถของระบบ 4G ยังสามารถส่งไฟล์วีดีโอความละเอียดสูง และการถ่ายทอดสดแบบ Live Broadcast แบบ Realtime การประชุมทางไกลแบบ Interactive ที่สามารถโต้ตอบแบบทันที บริการ cloud service สนับสนุนการเรียนผ่านทาง e-learning, การรักษาโรคทางไกล (Telemedicine) และ รวมไปถึงการชมภาพยนตร์ความละเอียดสูงบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งเหมาะสำหรับการทำธุรกิจด้านมัลติมีเดียและวีดีโอออนไลน์ในอนาคต
ปัจจุบัน ประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี มีการจับมือกันแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี หวังสร้างมาตรฐานร่วม 4G แห่งเอเชีย โดย ชูคุณสมบัติเด่น รับส่งข้อมูล 100 เมกะบิตต่อวินาที พร้อมเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยอาศัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล เวอร์ชั่น 6 หรือ “ไอพีวี6” (IPv 6) ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้พัฒนาขี้นเป็นรายแรก และมีแผนที่จะผลักดันให้กลายเป็นมาตรฐานระดับโลก
Readmore...

สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ

ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
mediathailand
สุวัฒน์ ธรรมสุนทร
ข้าราชการบำนาญ สำนักงาน กศน.




ข้อเสนอแนะจากเพื่อนสมาชิก Facebook