Monday, November 12, 2012

เลือกใช้หน่วยบันทึกข้อมูล(Memory Card)

0 comments
 
 
 
หากจะกล่าวถึง Memory card น้อยคนนักของคนในแวดวงไอที จะไม่รู้จัก เจ้า Memory Card หรือหน่วยบันทึกข้อมูล ถือเป็นสิ่งจำเป็นในโลกยุคดิจิตอล หน้าที่หลักของหน่วยบันทึกข้อมูลนี้ก็คือใช้ในการเก็บ บันทึกไฟล์ข้อมูลประเภทต่างๆ ทั้งภาพ เสียง วีดิทัศน์ ในอุปกรณ์ Mobile Device หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น กล้องถ่ายรูป หรือ กล้องถ่ายวิดีโอ หรือแม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือในทุกประเภท และนับวันอุปกรณ์ Mobile เหล่านี้ ยิ่งมีวิวัฒนาการในการทำงานที่รวดเร็ว และสามารถบันทึกข้อมูลขนาดใหญ่ๆได้ดี ทำให้ต้องการสื่อสำหรับจัดเก็บที่มีขนาดใหญ่ รองรับความเร็วที่สูงขึ้นตามไปด้วย และพบว่าในบางครั้ง อุปกรณ์จัดเก็บไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ทัน ทำให้การทำงานของอุปกรณ์ Mobile Device ต้องค้างนิ่งไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง สาเหตุก็มาจากการใช้ Memory card ที่มีอัตราการอ่านเขียนที่ต่ำกว่าปริมาณข้อมูลที่ดำเนินการบันทึก ในบทความนี้ก็ จะว่าโดยรวม
 
 
Memory Card ในยุคเริ่มแรกอาจจะมีความจุไม่กี่ร้อยเม็กกะไบท์ (MB) แต่ปัจจุบันมีขนาดเกินหลัก GB ไปจนถึง TB แล้ว แต่ขนาดที่นิยมมากในตลาดทั่วๆไป มีตั้งแต่ 2GB, 4GB, 8GB, 16GB, 32GB, 64GB
 
ท่านทราบไหมว่า Memory Card ก็มีหลายประเภทเหมือนกัน เรามาทำความรู้จัก Memory Card กันก่อน
 
Compact Flash Card (CF Card)
เป็นหน่วยความจำแบบที่นิยมกันมากที่สุด มีขนาดเล็ก เบา ราคาถูก รวมทั้งยังทนทานเป็นพิเศษ มีความจุตั้งแต่ 8 เมกะไบต์ จนถึง 3 กิกะไบต์ จุดเด่นของ CF card คือ มีความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลสูง โดย CF card จะมี 2 รูปแบบคือ Type 1 และ Type 2 Type II จะมีความหนามากกว่า  มีความจุมากขึ้น และประมวลผลได้เร็ว มีใช้ในฮาร์ดดิสก์ขนาดจิ๋ว อุปกรณ์ที่นิยมใช้ CF card ส่วนใหญ่จะเป็น กล้องดิจิตอล และ คอมพิวเตอร์พกพา ที่เห็นได้ชัดก็คือ กล้อง Canon จะใช้ CF card เป็นตัวเก็บภาพแทบทุกรุ่น




Multimedia Memory Card (MMC card)
หน่วยบันทึกข้อมูลประเภทนี้เป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือหรือเครื่องเล่น MP3 มาก่อน แต่ด้วยข้อจำกัดของ MMC card คือ มีราคาค่อนข้างแพง มีความจุไม่ค่อยสูงมากนัก ซึ่งในอนาคตอาจจะถูกแทนที่ด้วยการ์ดหน่วยความจำแบบ SD Card ในไม่ช้า แต่ที่ยังคงมีการใช้งาน MMC Card กันอยู่จนถึงทุกวันนี้ก็เนื่องจาก MMC Card นั้นสามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ที่รองรับ SD Card ได้ด้วย โดยอุปกรณ์ที่นำ MMC Card ไปใช้งานนั้นก็มักจะเป็นอุปกรณ์พกพาขนาดเล็กต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ, เครื่องพีดีเอ, เครื่องเล่นเพลง MP3 หรือกล้องดิจิตอล จากที่กล่าวไว้ข้างต้นคือ อุปกรณ์ใดที่มีสล็อตของ SD Card ก็มักจะสามารถนำ MMC Card มาใส่ได้โดยปริยาย เนื่องจากความกว้างและยาวของ MMC Card นั้นเท่ากันกับ SD Card รวมถึงมีขาขั้วต่อ (Pins) รูปแบบเดียวกัน เพียงแต่ MMC Card จะมีความหนาที่น้อยกว่า SD Card อยู่เล็กน้อย



Memory Stick
เป็นหน่วยความจำที่คิดค้นและพัฒนาขึ้นโดย Sony เพื่อใช้กับกล้องดิจิตอล, เครื่องเล่นเพลง, โทรศัพท์มือถือ, เครื่องเล่นเกมส์ PlayStation, VAIO notebook ของค่าย Sony โดยเฉพาะ ซึ่ง sony ได้ทำการพัฒนาออกมาหลายรุ่นด้วยกัน เช่น Memory Stick, Memory Stick Duo (มีระบบป้องกันข้อมูลในส่วนของ Memory Stick MagicGate), Memory Stick with memory selection function Total 256 mb (128 mb x 2), Memory Stick Pro, Memory Stick Pro Duo (มีระบบป้องกันข้อมูลในส่วนของ Memory Stick MagicGate)
ลักษณะของ Memory Stick  มีรูปร่างเป็นแท่งแบนยาว มีขนาด 50 x 21.5 x 2.8 มิลลิเมตร สามารถรองรับการบันทึก/จัดเก็บข้อมูลได้มากถึงระดับ GB ลักษณะเด่นและมีความเร็วในการบันทึกและการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงระดับ 1.3 MB ต่อวินาที ซึ่งสูงกว่าหน่วยความ SD card หรือ MMC card แบบธรรมดา  ช่วยให้การเขียนอ่านข้อมูลทำได้ด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่ Memory Stick ไม่ค่อยได้รับความนิยมในหมู่ผู้ใช้ทั่วไปเท่าใดนัก เนื่องจากราคาที่ค่อนข้างสูง


SD card (Secure Digital Card)
เป็นหน่วยความจำที่พัฒนาร่วมกันโดย Matsushita SanDisk และ Toshiba ถือได้ว่าเป็นหน่วยความจำที่นิยมนำมาใช้กับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็กต่างๆ มากที่สุดในหลายประเภทของอุปกรณ์ Mobile Device ไม่ว่าจะเป็น digital cameras , PDAs, GPS receivers และโทรศัพท์มือถือเกือบทุกแบรนด์จะนิยมใช้ SD Card กัน ซึ่ง SD Card นับเป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่แพร่หลายกันมากที่สุด มีการผลิตในหลายบริษัท  จะอยู่ภายใต้การกำกับมาตรฐานโดย  SD Association


ด้วยปริมาณความต้องการในการใช้งาน SD Card มีความต้องการความจุที่สูงขึ้น ทำให้มีการกำหนดมาตรฐานรองรับจาก SD Card รุ่น Standard เดิมที่ความจุไม่เกิน 2 GB (Fat 12/16) มาสู่มาตรฐานใหม่อีก 2 มาตรฐานคือ SDHC (Secure Digital High Capacity) ความจุ 2GB-32GB และ SDXC ที่มีความจุ 32 MB-2TB

SD Card ในทุกมาตรฐานจะถูกออกแบบมาใน 3 ขนาด คือ
    1. Full Size SD
    2. MiniSD
    3. MicroSD
รายละเอียดตามตารางด้านล่าง


ปัจจุบันทั้ง MiniSD / MicroSD ได้ถูกนำมาใช้กับอุปกรณ์โทรศัพท์ต่างๆ รวมถึง Tablet PC ในเกือบทุกรุ่น ถือได้ว่า SD Card เป็นหน่วยบันทึกข้อมูลที่นิยมใช้งานมากที่สุด เนื่องจากขนาดที่เล็ก ราคาไม่สูง ใช้งานได้หลากหลาย ใช้ได้กับกล้องถ่ายภาพหลายยี่ห้อ รวมไปถึงโทรศัพท์มือถือ แถมยังมีหลายขนาด ทั้งแบบปกติ, miniSD, microSD เพื่อให้รองรับกับอุปกรณ์แต่ละประเภท
นอกจากนี้การ์ด SD ทั้ง 3 แบบดังที่กล่าวมาในข้างต้นทั้งการ์ด SD ความจุมาตรฐาน , SDHC หรือ High-Capacity, SDXC หรือ eXtended-capacity ก็จะมีคุณลักษณะเฉพาะในความเร็วของการบันทึกหรือการอ่านที่แตกต่างกันไปตามพัฒนาการในแต่ละช่วงปีตามวิวัฒนาการ


ซึ่งการ์ดแต่ละตัวจะมีการบ่งบอกความเร็วของการ์ด ที่เรียกว่า Speed Class ด้วยตัวอักษรตัว C ซึ่งความเร็วเหล่านี้จะมีประโยชน์ในการอ่านข้อมูลในการ์ด หน่วยเป็นจำนวน MB ต่อวินาที สามารถแบ่งออกเป็นระดับต่างๆ  ดังนี้
          Speed Class 2   มีความเร็วในการอ่านข้อมูล   2MB/วินาที
          Speed Class 4   มีความเร็วในการอ่านข้อมูล   4MB/วินาที
          Speed Class 6   มีความเร็วในการอ่านข้อมูล   6MB-12MB/วินาที
          Speed Class 10 มีความเร็วในการอ่านข้อมูล 10MB-25MB/วินาที


 มาตรฐาน Speed Class 10 ไม่เพียงพอต่อเทคโนโลยีการส่งผ่านข้อมูลเพื่อการจัดเก็บที่มีพัฒนาการสูงขึ้น ทำให้ได้มีการกำหนดมาตรฐานเพิ่มเติมที่เรียกว่า UHS Speed Class จะเป็นอักษรตัว U


ลักษณะ pin ด้านหลังของ SD Card ซึ่ง UHS-II จะมี pin interface  2 แถว ในการเลือกใช้ UHS Speed Class นั้น อุปกรณ์ที่ท่านใช้ ต้องรองรับเทคโนโลยีนี้ด้วยเช่นกัน เพราะจะมีส่วนเชื่อมต่อ interface พิเศษ แถวที่ 2 ทำให้การเขียนอ่านที่ความเร็วสูงสุดได้


บางบริษัทได้ออกแบบให้ SD Card Class 10 สามารถใช้ร่วมกับมาตรฐาน UHS-I ด้วยความเร็วขั้นต่ำในการอ่านข้อมูลที่ 25MB/วินาที หากใช้เทคโนโลยี UHS-I จะสามารถใช้ความเร็วสูงสุดถึง 104 MB/s






           อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการ์ด SD คุณภาพดีแค่ไหนก็ตาม หากคุณภาพของ Mobile Device ที่ท่านใช้ ไม่ว่าจะเป็น กล้อง หรือคอมพิวเตอร์ หรือ Smartphone ที่ไม่สามารถรองรับการ์ด SD ได้ ก็คงไม่มีประโยชน์อะไร (แต่ส่วนใหญ่ปัจจุบัน มาตรฐานรองรับถึง class 10 แทบทั้งสิน



นอกจาก SD Card ที่นิยมใช้ในอุปกรณ์เกือบทุกประเภทแล้ว ก็ยังมีหน่วยบันทึกข้อมูลที่บริษัทผู้ผลิตกล้องพัฒนาขึ้นเอง(ไม่เกี่ยวกับ smartphone) ซึ่งไม่ค่อยแพร่หลายนัก

xD Picture Card (xD Card) เป็นหน่วยความจำที่บางมาก มีใช้ในกล้องดิจิตอลรุ่นเล็กของฟูจิ และโอลิมปัส ถือว่าเป็นสื่อบันทึกข้อมูลน้องใหม่ มีความน่าสนใจ แต่ยังมีใช้ไม่มากนัก จึงมีราคาสูงกว่า SD Card ทั่วไป

Smart Media เป็นต้นแบบของ xD Card เป็นการ์ดแบบบางเช่นกัน แต่มีความจุน้อย ปัจจุบันแทบจะไม่มีกล้องดิจิตอลที่ใช้หน่วยความจำแบบนี้แล้ว



อ้างอิง
(1) http://en.wikipedia.org/wiki/Comparison_of_memory_cards
(2) http://kb.sandisk.com/app/answers/detail/a_id/1996/~/difference-between-speed-class,-uhs-speed-class,-and-speed-ratings
(3) https://www.sdcard.org

Leave a Reply

ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ


สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ

ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
mediathailand
สุวัฒน์ ธรรมสุนทร
ข้าราชการบำนาญ สำนักงาน กศน.




ข้อเสนอแนะจากเพื่อนสมาชิก Facebook