Wednesday, November 30, 2011

เทคนิคการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างมันใจและปลอดภัย 4

0 comments
 
เทคนิคการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างมั่นใจและปลอดภัยทั้ง 3 ตอน คงเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านไม่มากก็น้อย สำหรับตอนนี้ เฉพาะคนที่ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์ ซึ่งเป็นการติดต่อสื่อสารราคาถูกที่รวดเร็ว ง่ายในการใช้งาน และก็ง่ายต่อการบุกรุกโจมตี หลายท่านถูกกระทำจนระบบ Windows เสียหายใช้งานไม่ได้ก็มี  และก็เหมือนในตอนที่ 3 นั่นคือ การบุกรุกโจมตีนี้ มาจากความยินยอมของท่านเองด้วย เรามาดูกันว่า เกิดจากสาเหตุใดจึงติดภัยบุกรุก แล้วจะปกป้องอย่างไรที่จะพ้นจากภัยบุกรุกได้ ซึ่งในตอนนี้ จะเป็นเรื่องของการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ล้วนๆเลย


เริ่มด้วยข้อแรก ถือเป็นคำเตือนแล้วกัน ก็คือ

1. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลสิทธิทางบัญชีอีเมล์และบัญชีการเงิน
หากจำเป็นต้องป้อนข้อมูลส่วนตัวให้ป้อนเฉพาะข้อมูลเท่าที่จำเป็น อันได้แก่
email ชื่อผู้ใช้ หากต้องสร้างบัญชีผู้ใช้สิทธิการใช้งานใหม่ การตั้งรหัสผ่าน ไม่ควรตั้งรหัสเดียวกันกับรหัสผ่านใช้งาน email จริงๆ

ดังนั้นสิ่งที่ท่านต้องจำก็คือ ต้องไม่แจ้งข้อมูลต่อไปนี้ ลงบนเว็บ ได้แก่ หมายเลขบัญชีธนาคาร แอคเคาต์และรหัสผ่านสำหรับเข้าระบบธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ หมายเลขบัตรเครดิต หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เนื่องจากธนาคารหรือสถาบันการเงินจะไม่มีการขอรายละเอียดในลักษณะนี้ผ่านทางระบบemail
นอกจากนี้ไม่ควรส่งข้อมูลทางการเงินของท่านผ่านระบบเมล์ถึงใครโดยเด็ดขาด เพราะอาจจะถูกดักจับข้อมูลได้

2. หลีกเลี่ยงการเปิดอ่าน email ที่ไม่รู้จัก
หากคุณไม่ทราบว่าอีเมล์นั้นเป็นใคร ควรงดการเข้าถึง เพราะมันอาจจะแฝงมาด้วยภาษาสคริปต์ ที่สามารถเชื่อมเข้าระบบภายในเครื่องของคุณ หรือเป็นเป็นสแปมหรือเป็นเมล์ที่มีไวรัสแนบติดมา

3.ไม่เปิดไฟล์แนบ email จากบุคคลที่ไม่รู้จัก
ให้ระมัดระวัง email ที่ได้รับจากผู้ส่งที่ท่านไม่รู้จัก ไม่ว่าemailเหล่านั้นอ้างชื่อใคร(บุคคลที่มีชื่อเสียงหรือมีความน่าเชื่อถือ) เป็นผู้ส่งก็ตาม และไม่ทำการเปิดไฟล์ที่แนบมาหรือคลิกไฮเปอร์ลิงค์ที่ส่งมากับ emailโดยเด็ดขาด

4.ดาวน์โหลดไฟล์แนบแล้ว scan ก่อน
หากจำเป็นต้องเปิดไฟล์แนบ ให้ทำการ scan (ด้วยโปรแกรมป้องกันไวรัสที่ยังใช้งานได้)ก่อนเสมอ

5. Links ในอีเมล์ ช่องทางอันตราย
หากมีการส่งไฮเปอร์ลิงค์มากับemail ถ้าเป็นไปได้ ไม่ควรทำการคลิกที่ลิงค์ดังกล่าวทันที เพราะอาจจะเป็น linksหลอกลวง(ดังภาพด้านล่าง)  หากจำเป็นที่จะต้องเข้า(แนะนำไม่ควรเสี่ยง)  ให้ท่านพิมพ์ URL ที่เห็นลงในช่อง Addressบน Web Browser เพราะจะให้ระบบของ firewallและ Internet Security ทำการตรวจสอบได้โดยตรงก่อน

จากภาพด้านบน เป็นเหตุการณ์ค่อนข้างอันตรายในการหลอก แจ้งเตือนท่านให้ทบทวนการใช้อีเมล์ของ Hotmail โดยจะมี links (ปลอม) ให้ท่านใส่ User Name และ Password ของท่านลงไปใหม่ ดังนั้นการใช้งาน หากไม่แน่ใจ ต้องรอบครอบ และตรวจสอบให้ถึ่ถ้วน เพราะเมล์ท่านอาจถูก hack ด้วยวิธีง่ายๆ แบบนี้
6. ปกป้องข้อมูลสำคัญเมื่อใช้งานกับเครื่องสาธารณะด้วยOn-Screen Keyboard
ในบางครั้งหากจำเป็นต้องเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตบนเครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ อาทิ ที่สนามบิน สถานีรถโดยสาร สถานีรถไฟ การใช้งานเครื่องสาธารณะเหล่านี้ ข้อมูลการเข้าใช้งานในระบบต่างๆ แม้ว่าจะทำการลบ cookies หรือ history รวมถึง temporary internet files ก็ยังคงอาจถูกดักเก็บข้อมูลต่างๆไว้ ได้ ซึ่งระบบปฏิบัติการ Windows มี โปรแกรมพิเศษ สำหรับใช้งานด้านข้อมูล ที่ปลอดภัย มาให้โดยเฉพาะ สำหรับใช้งาน Login หรือ ในส่วนที่จำเป็นต้องลงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ต่างๆ อย่างปลอดภัย โดยโปรแกรมนี้ จะไม่เก็บค่า หรือ ข้อมูลใดๆไว้ หลังจากเลิกใช้งาน โปรแกรมนั้นคือ On-Screen Keyboard เรียกใช้งานได้โดยการกดปุ่ม Windows+U

จะเกิดหน้าจอดังภาพบน เลือกรายการชื่อ Start On-Screen Keyboard เมื่อคลิกเลือกแล้วจะเกิดหน้าต่างคีย์บอร์ดเสมือนบนจอ ที่มีคุณสมบัติ ไม่เก็บค่าใดๆไว้บนระบบ






7. "End User License Agreement" เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องศึกษา
ในการใช้งานการติดตั้งโปรแกรม หรือการใช้งานผ่านเว็บไซต์ ทุกประเภท หากต้องการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าในลักษณะใด หากโปรแกรมที่ติดตั้งหรือเว็บไซต์นั้นๆ ได้แจ้ง "
End User License Agreement" ให้ท่านอ่าน ท่านต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับเงื่อนไขต่างๆ ใน "End User License Agreement" และให้ทำการยกเลิกการติดตั้งในทันที ถ้ามีความพยายามทำการติดตั้งโปรแกรมอื่นๆ เพิ่มเติมโดยที่ท่านไม่ต้องการ



8.ใช้ SmartScreen Filter ตรวจสอบก่อนใช้งานข้อมูลเว็บไซต์
Web Browser โดยเฉพาะ Internet Explorer 9 จะมีโปรแกรม SmartScreen Filter สำหรับตรวจสอบความปลอดภัยในข้อมูลต่างๆของเว็บไซต์ที่ท่านเข้าใช้งาน โดยมีขั้นตอนเรียกใช้ ดังนี้
                 ให้ไปที่เมนู Tools > SmartScreen Filter > TurnOn SmartScreen Filter ตามลำดับ


การตรวจสอบเว็บที่น่าสงสัย เมื่อหลงเข้าเว็บนั้นมา อย่าพึ่งไปในที่ใดๆ ให้ไปที่ เมนู Tools > SmartScreen Filter >  Check This website ตามลำดับ

                    
9.ล้างข้อมูลการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นประจำ
ในการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต ระบบจะเก็บประวัติการเข้าใช้งานในเว็บไซต์ต่างๆของท่านเสมอ ทั้งนี้เพื่อให้ท่านรองรับการเข้าถึงเว็บไซต์นั้นๆในครั้งต่อไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ด้วยเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์และการสื่อสารในปัจจุบัน การเข้าถึงเว็บไซต์สามารถทำได้อย่างรวดเร็วอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องเก็บค่าข้อมูลเหล่านี้ไว้เพื่อรองรับความเร็วในการload การแสดงผล ดังนั้นจึงควรล้างข้อมูลประวัติ หรือ history รวมถึง temporary internet files เป็นประจำ


            Internet Explorer เวอร์ชั่น 7 ขึ้นไป
ให้ไปที่เมนู Tools > Delete Browsing History > เลือกลบ หรือลบทุกรายการ

Internet Explorer เวอร์ชั่นที่ต่ำกว่า
ให้ไปที่เมนู Tools > Internet Options > เลือกที่แท๊บ General แล้วให้ดูที่Temporary Internet files จากนั้นคลิก Delete Files แล้วคลิกที่ Delete Cookies และในส่วนของ Historyให้คลิกที่ Clear History

โปรแกรม Firefox
ให้ไปที่เมนู Tools > แล้วคลิกที่ Clear Private Data

10.Logout เมื่อออกจากระบบทุกครั้ง
ในการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต(โดยเฉพาะเครื่องสาธารณะที่ไม่ใช่ของตนเอง)ให้ทำการ Login และ Logout ทุกครั้ง จำไว้ว่าการ Logout เพื่อออกจากโปรแกรมหรือจากการใช้งานเว็บไซต์ การใช้งานจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ จะทำให้ข้อมูลของท่านอยู่ในสภาพปลอดภัยเสมอ

แต่ถ้าจะให้ปลอดภัย 100% หากท่านทำได้ ท่านควร Rebootเครื่องไปเลย

จบ 4 ตอนแล้ว หวังว่า เครื่องของท่าน คงปลอดภัย จากภัยบุกรุกทั้งจากสื่อพกพา หรือจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไว้พบกับเรื่องราวอื่นๆ ที่จะนำมาแบ่งปันกันบนบล็อกแห่งนี้

Leave a Reply

ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ


สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ

ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
mediathailand
สุวัฒน์ ธรรมสุนทร
ข้าราชการบำนาญ สำนักงาน กศน.




ข้อเสนอแนะจากเพื่อนสมาชิก Facebook