Friday, January 13, 2012

เริ่มต้นรู้จัก Ultrabook

0 comments
 
จากกระแสการเกิดของ Mac Book Air ของค่าย Apple ที่ถือว่าเป็นคอมพิวเตอร์ประเภท Notebook ที่มีรูปลักษณ์ที่เบาและบางที่สุด ซึ่ง Apple ดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้าน Design ที่ใช้วัสดุโลหะบางเบาแต่แข็งแรง รวมถึงวางกรอบความคิดด้านการเชื่อมต่อในระบบไร้สาย ทำให้ MacBook Air คือผู้บุกเบิกคอมพิวเตอร์พกพาที่มีน้ำหนักเบา บาง และล้ำยุค แบ่งสัดส่วนการตลาดผู้ใช้คอมพิวเตอร์ Notebook ไปได้อีกไม่น้อย

ซึ่งเมื่อ 2 ปีก่อน ที่ Netbook เป็นอีกสายพันธ์ที่ออกมาสู่วงการคอมพิวเตอร์พกพา นับได้ว่าได้ตอบโจทย์ ของความสะดวกในการพกพาด้วยน้ำหนักเบา ขนาดกระทัดรัด ให้เวลาการใช้งานที่นาน แต่ด้วยเทคโนโลยีของ CPU ทำให้ Netbook มีประสิทธิภาพการทำงานที่ค่อนข้างช้า ที่สำคัญขาดอุปกรณ์ใช้งานร่วม อาทิ ตัวอ่านข้อมูล Optical Drive ประเภท DVD ทำให้การตัดสินใจเลือกซื้อของผู้ใช้ ยังมุ่งเน้นไปที่ Notebook ที่แม้จะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยมากกว่า 2 กิโลกรัมก็ตาม แต่ก็มีความพร้อมด้านกระบวนการใช้งานที่ครบถ้วน

แต่จากการที่ Intel ได้ร่วมมือกับ Acer เปิดตัว Notebook Series "S" ที่ถือเป็น Notebook สายพันธ์ใหม่และประกาศว่าเป็น Ultrabook พร้อมทั้งกำหนดมาตรฐานของ Ultrabook ออกมา และกำลังเป็นอีกกระแสหรืออีกนิยามของคอมพิวเตอร์พกพา ที่มีความพร้อมทั้งประสิทธิภาพ มีความบาง น้ำหนักเบา เน้นการประหยัดพลังงาน (ถือได้ว่า Ultrabook ได้นำเอาจุดเด่นของ Notebook และ Netbook มารวมกัน)



มาตรฐานของ Ultrabook
จากวิดีโอด้านบน นั่นคือมาตรฐานใหม่ที่ intel ได้กำหนดไว้ให้กับ คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่าพกพาจริงๆ ซึ่งโดยประสิทธิภาพโดยรวม นับได้ว่า ปฏิวัติคอมพิวเตอร์ notebook ไปในหลายส่วน เรามาดูว่าอินเทลได้กำหนดมาตรฐานของ Ultrabook ให้กับผู้ผลิตทุกแบรนด์ทั่วโลก ด้วยเงื่อนไขเดียวกัน โดยมีจุดเด่นที่สำคัญ มีอะไรบ้าง

1.Ultra Sleek
มีความสะดวกในการพกพา เบา และบาง โดยกำหนดว่าต้องมีความหนาของตัวเครื่องใน 2 กลุ่ม คือ
  1. ขนาดหน้าจอ 11-13 นิ้ว หนาไม่เกิน 18 มม.
  2. ขนาดหน้าจอ 14 นิ้วขึ้นไป หนาไม่เกิน 21 มม.
2.Long Last Battery
ต้องรองรับการทำงานด้วยแบตเตอรี่ไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง(Ultrabook ที่มีจำหน่ายปัจจุบัน ทำได้นานกว่า 6 ชั่วโมง)

3.Responsiveness
เข้าสู่ระบบพร้อมใช้งานจากสภาวะ Sleep Mode ได้อย่างรวดเร็วไม่เกินกว่า 7 วินาที

จากมาตรฐานของอินเทล ที่กำหนดไว้ ทำให้ Ultrabook มีคุณสมบัติและลักษณะเฉพาะเพิ่มขึ้น นั่นคือ
  1. มีน้ำหนักเบา ไม่เกิน 1.4 กิโลกรัม
  2. มีประสิทธิภาพการทำงานที่รวดเร็ว ด้วยเทคโนโลยี 2nd Generation Core Processor ส่งผลให้ Ultrabook มีความแรงในการทำงานและประมวลผล ได้ดีเทียบเท่า notebook ในปัจจุบัน(ที่มีความแรงในประสิทธิภาพที่มาพร้อมกับน้ำหนัก อนาคตอีกไม่นานก็จะเปลี่ยนไปสู่ยุค 3rd Generation Core Processor ด้วย CPU รหัส 3xxxx
  3. หน้าจอแสดงผลให้ความละเอียดเทียบเท่า Notebook เดิมคือ  1366 x 768 (หน้าจอมาตราฐานของ Notebook ในปัจจุบัน) แต่ก็มีหลายแบรนด์ทำได้สูงกว่า บางรายสูงถึง 1600x900 pixels
  4. มีความร้อนต่ำ
  5. เวลาการ Boot เข้าสู่ระบบที่รวดเร็ว
  6. รองรับการเชื่อมต่อเทคโนโลยี USB 3.0 และ PCI Express 3.0
จากข้อกำหนดด้วยความหนาและน้ำหนัก ทำให้ Ultrabook ยังคงไม่มีชุดอ่านข้อมูล Optical Drive จากแผ่น CD-Rom หรือ DVD นอกจากนี้หลายแบรนด์จึงต้องเลือกใช้ Storage แบบใหม่(SSD : Solid State drive) แทน Harddisk แบบจานแม่เหล็ก(ซึ่ง SSD มีราคาค่อนข้างแพง ทำให้มีการพัฒนา harddisk ที่มีขนาดบางและเบามาใช้ในบางแบรนด์ แม้จะได้ปริมาณความจุที่สูงขึ้นแต่ก็ทำให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นด้วย) นอกจากนี้ยังต้องใช้หน่วยประมวลผลทางกราฟิกในตัว (ปัจจุบัน พ.ศ. 2555 เป็น Intel HD3000) แต่ก็มีบางแบรนด์ได้พยายามพัฒนาใช้หน่วยประมวลผลทางกราฟิกแยกแล้วในบางรุ่น



จากข้อกำหนดในเรื่องน้ำหนัก ทำให้ Ultrabook ต้องใช้วัสดุโครงสร้างที่ต้องเบาแต่แข็งแรงส่วนใหญ่เลือกใช้แม็กนีเซียมอัลลอย หรืออลูมีเนียม (บางแบรนด์ใช้วัสดุพิเศษ อาทิ ของ Samsung ที่ใช้ดูราลูมิน : Duralumin เป็นวัสดุประเภทโลหะผสม Aluminium Alloy ที่แข็งแรง ทนทานต่อกาลเวลา มีลักษณะแข็ง แต่น้ำหนักเบา ซึ่งส่วนใหญ่มักจะนำไปใช้ในการสร้างอากาศยานและเครื่องบิน) ทำให้ต้นทุนในส่วนของโครงสร้างที่ต้องลงทุน ออกแบบใหม่ ส่งผลให้มีต้นทุน Ultrabook รุ่นที่หนึ่ง สูงกว่าการใช้วัสดุปกติ ซึ่ง Ultrabook ในรุ่นต่อมา อาจมีการใช้วัสดุเบาแม้จะไม่แข็งแรงเทียบเท่าแต่ก็มีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำกว่าประเภทคาร์บอนไฟเบอร์ หรืออาจจะเป็นพลาสติกแข็ง ที่มีข่าวว่า Intel กำลังทำการวิจัยร่วมกับผู้ผลิตชิ้นส่วน ซึ่งก็จะส่งผลให้มีน้ำหนักเบาลงไปอีก (แล้วมันจะแตกง่ายไหมนะ) นอกจากนี้ หากสามารถลดน้ำหนักรวมได้ลงอาจจะมีการเพิ่มเติม Optical Drive กลับคืนสูง Ultrabook อีกครั้ง

และในปี 2555 Intel วางแผนการตลาดที่จะสนับสนุนและผลักดันให้ Ultrabook เข้าสู่ตลาดผู้ใช้ ให้ได้ 20-30 ล้านเครื่อง ทั้งในแบบ Ultrabook  และ Hybrid Ultrabook (ที่เป็นเครื่องแบบผสมผสานระหว่างTablet PC และ Ultrabook ลงมาในเครื่องเดียวกันปลายปีนี้ พร้อมๆไปกับระบบ Windows 8) และจากกระแสความต้องการที่สูงขึ้น ทำให้กระบวนการผลิตมีมากขึ้น ก็จะส่งผลให้ Ultrabook ในรุ่นถัดไปจะถูกลง เราคงต้องติดตามว่า ราคาเกณฑ์เฉลี่ยของ ultrabook จะอยู่ต่ำกว่า 30,000 บาทได้หรือไม่ (ตอนนี้ก็มีราคาที่แตะต่ำกว่า 30,000บาท เป็นของ Acer)

ข่าวล่าสุด Gary Richman ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดแผนกพีซีไคลเอ็นต์ของ Intel นำเสนอจุดขายใหม่ของ Ultrabook ด้วยดีไซน์ที่เรียกว่า Cove Point Ultrabook ซึ่งหมายถึง "Hybrid Ultrabook" โดยเป็น Ultrabook ที่มาพร้อมหน้าจอสัมผัสที่สามารถเลื่อนลงมาปิดทับคีย์บอร์ด เพื่อแปลงร่างเป็น "Tablet PC" ได้ โดยคาดว่า ทางบริษัทจะผลักดันให้เกิดเป็นกระแสหลักสำหรับ Ultrabook ผู้บริหาร Intel ยังมองว่าในอนาคต Tablet PC  และ Windows 8 จะมีบทบาทสำคัญในการสร้างประสบการณ์ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ระบบสัมผัส ด้วย Cove Point  นี้ Intel กำลังนิยามรูปแบบของคอมพิวเตอร์ใหม่ที่ใช้ประโยชน์จากดีไซน์ของ Notebook  และข้อได้เปรียบจากประสบการณ์ในการใช้งานระบบสัมผัสของ Windows 8 นำมาสู่นวัตกรรมรูปลักษณะทางคอมพิวเตอร์อีกครั้ง

ศึกษาเพิ่มเติมที่
http://en.wikipedia.org/wiki/Ultrabook

Leave a Reply

ขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจบทความ ใน mediathailand network ครับ


สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ

ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม
mediathailand
สุวัฒน์ ธรรมสุนทร
ข้าราชการบำนาญ สำนักงาน กศน.




ข้อเสนอแนะจากเพื่อนสมาชิก Facebook