Learning Object อาจจะดูเหมือนเป็นสิ่งใหม่สำหรับวงการครูไทย แต่ความเป็นจริงแล้ว Learning Object ไม่ใช่ของใหม่แปลกเลยมีใช้กันแพร่หลายมามากกว่า 10 ปี และสำหรับประเทศไทย Learning Object ได้กลายเป็นอีกกระแสสำคัญในวงการศึกษาไทย เพราะจากกระแสข่าวของ One Tablet PC per Child ที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทั่วประเทศ ในปีการศึกษา 2555 จะได้รับเป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนที่เพียบพร้อมไปด้วยเนื้อหา (Content) ที่อยู่ในรูปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) และ Learning Object แล้ว Learning Object หน้าตาเป็นยังไง (จากข่าวคราวของ สพฐ. ก็เป็นอีกหน่วยงานทางการศึกษาที่มีการระดมพัฒนา Learning Object กันมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีมากพอที่จะบรรจุใส่ไว้ใน Tablet PC ได้)
นั้นเรามาทำความรู้จักกันว่า เจ้า Learning Object หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า LO มันคืออะไร
Learning Object ก็คือหน่วยหรือชิ้นส่วนสำหรับใช้เรียนรู้ ขนาดสั้น (บางแห่งเรียกว่าขนาดเล็ก คงหมายถึงขนาด file size) จริงๆแล้วน่าจะเรียกว่าชิ้นส่วนการเรียนรู้เฉพาะเรื่องขนาดสั้นมากกว่า เพราะหลักกการของเจ้า LO นี้จะมีเนื้อหาที่ตอบโจทย์ เพียงโจทย์เดียวเท่านั้น ไม่มีการต่อยอด ต่อแตกแขนงเนื้อหาออกไป หรืออาจกล่าวได้ว่า LO หนึ่งตัว มีเพียง หนึ่งความรู้
สำหรับนักการศึกษาไทย ก็ได้ให้คำจำกัดความ หรือความหมายไว้หลากหลาย อาทิ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ให้ความหมายว่า
Learning Object คือสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลที่ออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ โดยแต่ละเรื่องจะนำเสนอแนวคิดหลักย่อย ๆ ผู้สอนสามารถเลือกใช้ Learning Object ผสมผสานกับการจัดการเรียนการสอนแบบอื่นๆ ได้อย่างหลากหลาย”
สติยา ลังการ์พินธุ์ (2548) learning object ซึ่งเป็นสื่อที่ออกแบบเพื่อให้นักเรียน เรียนรู้แนวคิดหลักอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ สามารถจัดเก็บ และค้นหาในระบบดิจิตอลได้ โดยสะดวก ครูสามารถนำไปใช้ซ้ำได้ในรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลาย ในลักษณะ เดียวกับตัวต่อเลโก้ที่สามารถใช้ประกอบเป็นรูปร่างต่างๆ และสามารถแยกชิ้นส่วน แล้วนำตัว ต่อชิ้นเดิมไปสร้างเป็นรูปร่างใหม่ขึ้นมาได้
ศยามน อินสะอาด (2550) ให้คำจำกัดความ ของ “learning object” ว่า เป็นแหล่งทรัพยากรดิจิตอล” Learning Object คือ สื่อการเรียนรู้ดิจิตอล ที่ออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ โดยแต่ละเรื่อง จะนำเสนอแนวคิดหลักย่อยๆ ผู้สอนสามารถเลือกใช้ Learning Object ผสมผสานกับการจัดการเรียนการสอนแบบอื่นๆ ได้อย่างหลากหลาย และสามารถนำมาใช้ใหม่ (ใช้ซ้ำ) ได้
อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี (2549) ได้ให้ความหมายของ learning object ว่าหมายถึง สื่อดิจิตอลที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้สนับสนุนการเรียนรู้ และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หน่วยของเนื้อหา (ดิจิตอล) ที่ได้รับการออกแบบตามแนวคิดใหม่ จากหน่วยขนาดใหญ่เป็น หน่วยขนาดเล็กหลายหน่วย (smaller units of learning) หน่วยเนื้อหาแต่ละหน่วย (learning object) มีเนื้อหาสมบูรณ์ในตัวเอง (self-contained) เป็นอิสระจากกันหน่วยเนื้อหาแต่ละ หน่วย (learning object) สามารถนำไปใช้ซ้ำ (reusable) ได้ในหลาย โอกาส (หลายบทเรียน หลายวิชา) หน่วยเนื้อหาแต่ละหน่วย (learning object) สามารถนำมาเชื่อมโยงกันเป็นหน่วย เนื้อหาขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับ (can be aggregated) จนเป็นรายวิชาหรือหลักสูตร สามารถ กำหนดข้อมูลอธิบายหน่วยเนื้อหาแต่ละหน่วย (tagged with metadata) เพื่ออำนวยความ สะดวกในการค้นหา
นอกจากนี้ Cisco Systems ได้ให้คำจำกัดความของ learning Object ในรายงานเรื่อง "Enhancing the Learner Experience (2003)" ไว้ว่า
a single learning or performance objective that is built from a collection of assets that provide static or interactive content and instructional practice activities.
จาก Presentation ด้านบน จะได้แนะนำ และอธิบายถึงความหมาย และองค์ประกอบที่สำคัญของ ความเป็น Learning Object โดยได้กล่าวถึงความเป็นมาตรฐานของ Learning Object ที่เป็นชิ้นส่วนการเรียนรู้ ที่มีมาตรฐานของ SCORM กำกับอยู่ (ซึ่งจะได้นำเรื่อง SCORM มานำเสนอเพิ่มเติมต่อไป) เรียนรู้เรื่อง Learning Object เพิ่มเติม ที่ mediathailand : education